Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Back to Basic : WGS vs WES

Whole Genome Sequencing (WGS) vs Whole Exome Sequencing (WES) คืออะไร และอันไหนเหมาะสมกับงานประเภทอะไร?

A Guide to Popular NGS Sequencing Instruments | Sapio Sciences

            จากบทความเรื่องก่อน เรามีความรู้พื้นฐานเรื่องของสารพันธุกรรม และการแปลรหัสพันธุกรรมแล้ว ในบทความวันนี้เราจะทำความรู้จักกับการถอดรหัสพันธุกรรมแบบ Whole Genome Sequencing กับ Whole Exome Sequencing กันครับ

การหาลำดับเบสทั้งสองวิธี มีความแตกต่างอยู่ที่ WGS เป็นการหาลำดับจีโนมทั้งหมด ในขณะที่ WES จะเป็นการหาลำดับ Exome ทั้งหมด

Exome คืออะไร

รูปที่ 1 แสดงการถอดรหัสจีโนม

 

Exome มาจากรากศัพท์คือ Exon และ ome (all) รวมกันจึงแปลว่า Exon ทั้งหมด

Exon เป็นส่วนของจีโนมที่สามารถนำมาถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเป็นโปรตีนได้ ในรูปเราจะเห็นจีโนมประกอบด้วยส่วนสีเทาที่เป็น Introns และส่วนสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง สีเหลือง ซึ่งเป็น Exons

Introns เป็นรหัสพันธุกรรมที่ไม่ได้นำมาถอดรหัสเพื่อไปสู่ขั้นตอนการแปลรหัสเพื่อสร้างโปรตีน จะกระจัดกระจายอยู่บนจีโนม ซึ่งหลังจากการผ่านกระบวนการ “splicing” จะมีการตัด Introns ทั้งหมดออกไป และมีการรวม Exons เข้าด้วยกัน

ดังนั้นจึงสามารถทำความเข้าใจเบื้องต้นได้ว่า การดูจีโนมทั้งหมด (WGS) จะทำให้สามารถเข้าถึงรหัสพันธุกรรมทั้งหมด และสามารถระบุการเปลี่ยนแปลงใน DNA ในขณะที่ การดู Exome ทั้งหมด (WES) จะตรวจสอบเฉพาะส่วนที่สามารถถอดรหัสเพื่อแปลรหัสเป็นโปรตีนได้เท่านั้น

เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของสองเทคนิค

 

WGS

WES

เข้าถึงรหัสจีโนมทั้งหมด ทำให้ครอบคลุมถึงพันธุกรรมทั้งหมด

เข้าถึงเฉพาะ Exome ที่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการแปลรหัสเป็นโปรตีน

สามารถระบุตัวแปรที่เกิดขึ้นบนโครงสร้าง DNA ซึ่งตัวแปรเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ หรือเกิดขึ้นในระดับ Rare

สำหรับระบุลำดับของสารพันธุกรรมใน Exome ที่ทำให้เกิดโรคที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

รหัสจีโนมทั้งหมด 100%

มีสัดส่วนประมาณ 2% ของจีโนม

ใช้ระยะเวลาวิเคราะห์ที่นานกว่า

ใช้ระยะเวลาวิเคราะห์สั้นกว่า

ต้นทุนการวิเคราะห์สูงกว่า

ต้นทุนการวิเคราะห์ต่ำกว่า

รูปที่ 2 แสดงการวิเคราะห์แบบ WES และ WGS

 

อย่างไรก็ตามโรคทางพันธุกรรมทั่วๆไป ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมักสืบเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ในตำแหน่งของ Exome ทำให้การวิเคราะห์ด้วย WES เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางคลินิก รวมถึงในปัจจุบันได้มีการใช้ WES ในการศึกษาการเกิดโรคมะเร็ง จนสามารถระบุการกลายพันธุ์ในขั้นตอนการเจริญของเซลล์มะเร็ง

ในขณะที่ WGS ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการกลายพันธุ์บนตำแหน่งนอก Exome เช่นบนตำแหน่ง Introns หรือตำแหน่งที่ควบคุมการแสดงออกของยีนเช่น Promotor หรือ Operon

ปัจจุบัน WGS เข้าสู่ยุคของยาแม่นยำหรือ Personalized Medicine ซึ่งเกี่ยวข้องกับลำดับเบสของสารพันธุกรรมที่เหมาะกับยารักษาโรคชนิดหนึ่งๆ อีกทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยี WGS ได้ถูกพัฒนาอย่างเข้มข้นมากขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฟกัสตำแหน่ง Single Nucleotide Polymorphism (SNPs) และ Copy Number Variants (CNVs)

รูปที่ 3 แสดง CNVs ลักษณะต่างๆสี่รูปแบบอันประกอบด้วยการขาดหาย (Deletion) การซ้ำกัน (Duplication) การสลับตำแหน่ง (Inversion) และการเติม (Insertion) ซึ่ง CNVs จะสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดโรครวมไปถึงความรุนแรงของโรคได้

 

นอกจากนี้ยังมีการหาลำดับเบสที่จำเพาะต่อบางตำแหน่งหรือ Targeted Sequencing (tNGS) ซึ่งหลายๆคนอาจเรียกว่า “Panel”


รูปที่ 4 แสดง tNGS

 

การทำ tNGS หรือ Panel นี้ไม่ซับซ้อนเท่าสองเทคนิคแรก เนื่องจากพุ่งตรงไปยังตำแหน่งยีนเป้าหมาย สามารถแปลผลได้ง่ายไม่ต้องพึ่งพา Bioinformatic เหมือนอย่างสองเทคนิคแรก อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้จะไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ยีนตำแหน่งใหม่ที่ก่อให้เกิดโรคได้นั่นเอง

ในบทความหน้าจะกล่าวถึงเครื่องมือพันธุวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน จะมีเครื่องมืออะไรกันบ้างนั้น ติดตามกันต่อครับ

Pongsagon Pothavorn