Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

ไขความลับหมู่เลือด: มากกว่าตัวอักษร A B O!" 🚀🩸

ไขความลับหมู่เลือด: มากกว่าตัวอักษร A B O!" 🚀🩸

 A reemerging role for whole blood in modern trauma care - Mayo Clinic

โดยทั่วไป หลายคนอาจเข้าใจว่าหมู่เลือดมีเพียง 4 ประเภท ได้แก่ หมู่ A, B, AB และ O พร้อมทั้งระบบ Rh ซึ่งแบ่งเป็น Rh บวก (Rh positive) และ Rh ลบ (Rh negative) โดยเฉพาะ Rh ลบ ถือเป็นหมู่เลือดที่พบได้น้อยในคนไทยและจัดเป็นหมู่พิเศษ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง บนเม็ดเลือดแดงยังมีแอนติเจนของหมู่เลือดอีกหลายร้อยชนิด

 

ปัจจุบัน ระบบหมู่เลือดได้รับการจัดแบ่งออกเป็น 47 ระบบ โดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรนานาชาติ International Society of Blood Transfusion (ISBT) และยังมีโอกาสค้นพบระบบหมู่เลือดเพิ่มเติมในอนาคต (Table of blood group system v.11.3 30-SEP-2024)

  LG R gene (หรือ Landsteiner-Wiener (LW) blood group system, LW glycoprotein) เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบหมู่เลือด LW (Landsteiner-Wiener) ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบบหมู่เลือด Rh แต่เป็นระบบที่แยกออกมาต่างหาก

♦ เซลล์เม็ดเลือดแดง (RBCs) มีโปรตีนจำเพาะบนพื้นผิวที่เรียกว่า CD markers (Cluster of Differentiation markers) ซึ่งมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันและหมู่เลือด

 

No.

System name

System symbol

Gene name(s)*

LR G

Number of antigens

Chromosomal location

CD numbers

1

ABO

ABO

ABO

792

4

9q34.2

 

2

MNS

ABO

GYPA,GYPB,(G YPE)

793; 794

50

4q31.21

CD235a CD235b

3

P1PK

MNS

A4GALT

795

3

22q13.2

CD77

4

Rh

RH

RHD, RHCE

796; 797

56

1p36.11

CD240

5

Lutheran

LU

BCAM

798

28

19q13.2

CD239

6

Kell

KEL

KEL

799

38

7q33

CD238

7

Lewis

LE

FUT3

800

6

19p13.3

 

8

Duffy

FY

ACKR1

801

5

1q21-q22

CD234

9

Kidd

JK

SLC14A1

802

3

18q11-q12

 

10

Diego

DI

SLC4A1

803

23

17q21.31

CD233

11

Yt

YT

ACHE

803

6

7q22

 

12

Xg

XG

XG,CD99

805; 1023

2

Xp22.32

CD99+

13

Scianna

SC

ERMAP

806

9

1p34.2

 

14

Dombrock

DO

ART4

807

10

12p13-p12

CD297

15

Colton

CO

AQP1

808

4

7p14

 

16

Landsteiner Wiener

LW

ICAM4

809

4

19p13.2

CD242

17

Chido/Rodgers

CH/RG

C4A,C4B

137;1 38

9

6p21.3

 

18

H

H

FUT1; FUT2

810; 811

1

19q13.33

CD173

19

Kx

XK

XK

812

1

Xp21.1

 

20

Gerbich

GE

GYPC

813

13

2q14-q21

CD236

21

Cromer

CROM

CD55

127

20

1q32

CD55

22

Knops

KN

CR1

814

13

1q32.2

CD35

23

Indian

IN

CD44

815

6

11p13

CD44

24

Ok

OK

BSG

816

3

19p13.3

CD147

25

Raph

RAPH

CD151

817

1

11p15.5

CD151

26

John Milton Hagen

JMH

SEMA7A

818

8

15q22.3-q23

CD108

27

I

 

GCNT2

819

1

6p24.2

 

28

Globoside

GLOB

B3GALNT1

820

3

3q25

 

29

Gill

GIL

AQP3

821

1

9p13

 

30

Rh-associated glycoprotein

RHAG

RHAG

822

6

6p12.3

CD241

31

FORS

FORS

GBGT1

826

1

9q34.13-q34.3

 

32

JR

JR

ABCG2

823

1

4q22.1

CD338

33

LAN

LAN

ABCB6

824

1

2q36

 

34

Vel

VEL

SMIM1

827

1

1p36.32

 

35

CD59

CD59

CD59

41

1

11p13

CD59

36

Augustine

AUG

SLC29A1

1027

4

6p21.1

 

37

Kanno

KANNO

PRNP

 

1

20p13

 

38

SID

SID

B4GALNT2

 

1

17q21.32

 

39

CTL2

CTL2

SLC44A2

 

2

19p13.2

 

40

PEL

PEL

ABCC4

1183

1

13q32.1

 

41

MAM

MAM

EMP3

 

1

19q13.33

 

42

EMM

EMM

PIGG

 

1

4p16.3

 

43

ABCC1

ABCC1

ABCC1

 

1

16p13.11

 

44

Er

ER

PIEZO1

1137

5

16q24.3

 

45

CD36

CD36

CD36

 

1

7q21.11

CD36

46

ATP11C

ATP11C

ATP11C

 

1

Xq27.1

 

47

MAL

MAL

MAL

 

1

2q11.1

 

 

ความสำคัญของหมู่เลือดในการให้เลือดแก่ผู้ป่วย

แม้ว่าจะมีหมู่เลือดมากถึง 47 ระบบ แต่มีเพียง 10 ระบบที่มีความสำคัญในการจัดเตรียมเลือดให้ผู้ป่วย ได้แก่ ระบบ ABO, Rh, Kell, Kidd, Duffy, Diego, Lutheran, MNS, P1PK และ Lewis โดยในจำนวนนี้ ระบบ ABO มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ระบบ Rh

การให้เลือดแก่ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรงกับหมู่โลหิตของผู้รับเพื่อความปลอดภัยสูงสุด นับตั้งแต่ Karl Landsteiner ค้นพบระบบหมู่เลือด ABO ในปี ค.ศ. 1900 การให้เลือดจึงมีความปลอดภัยมากขึ้น และจากการค้นพบนี้ Landsteiner ได้รับรางวัล Nobel Prize ในปี ค.ศ. 1930 ต่อมามีการค้นพบหมู่เลือดอื่น ๆ อีกมากมาย

แอนติเจนของหมู่เลือดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก ทำให้สามารถใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้ นอกจากนี้ หมู่เลือดยังมีความแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ เช่น Mia แอนติเจน ของระบบ MNS และ Dia แอนติเจน ของระบบ Diego ซึ่งพบมากในคนไทยแต่พบน้อยในเชื้อชาติอื่น

ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในทางการแพทย์ โดยเฉพาะการศึกษาความชุกของแอนติเจนหมู่เลือดในกลุ่มประชากรต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาเลือดหายากให้แก่ผู้ป่วย อีกทั้ง ในบางกรณี หมู่เลือดของบุคคลอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำให้หมู่โลหิตของผู้ป่วยเปลี่ยนไปตามหมู่เลือดของผู้ให้ หรือในบางโรคที่ส่งผลให้การสร้างแอนติเจนของหมู่เลือดลดลงจนตรวจไม่พบ

 

🩸MassARRAY กับการตรวจแอนติเจนของหมู่เลือด🩸

MassARRAY เทคโนโลยีที่ใช้ MALDI-TOF MS (Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization Time-of-Flight Mass Spectrometry) ซึ่งช่วยตรวจสอบสารพันธุกรรม (DNA) ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยสามารถนำมาใช้ในการ ตรวจหมู่เลือด ได้โดยการวิเคราะห์ยีนที่ควบคุมการสร้างแอนติเจน ซึ่งเป็นสารชีวเคมีพวกไกลโคโปรตีน หรือไกลโคไลปิค ที่ร่างกายสร้างขึ้นบนเม็ดผิวเลือดแดง

 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการของ MassARRAY ซึ่งอาศัยเทคโนโลยี MALDI-TOF MS

MassARRAY ตรวจหมู่เลือดโดยการวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวข้องกับแอนติเจน เช่น

  • ABO System → ตรวจยีน ABO เพื่อระบุหมู่เลือด A, B, AB, O
  • Rh System → ตรวจยีน RHD และ RHCE เพื่อระบุ Rh+ หรือ Rh-
  • Kell System → ตรวจยีน KEL (K/k, KpA/KpB, JsA/JsB)
  • Duffy System → ตรวจยีน FY (FyA/FyB)
  • Kidd System → ตรวจยีน JK (JkA/JkB)
  • MNS System → ตรวจยีน GYPA และ GYPB
  • Diego System → ตรวจยีน SLC4A1

  

  ภาพ 1 ตัวอย่างแสดง mass spectra จากเทคโนโลยี MassARRAY ในการทดสอบจีโนไทป์อัลลีลหมู่เลือดระบบ Diego
(A) แสดง DI*B/B บงชี้จากการเป็น homozygosity ของ cytosine
(B) แสดง DI*A บงชี้จากการเป็น homozygosity ของ thiamine
(C) แสดง DI*A/B บงชี้จากการเป็น heterozygosity ของ cytosine และ thiamine
McBean, R. S., Hyland, C. A., & Flower, R. L. (2015)

 

ในส่วนของแอนติบอดี ปกติ MassARRAY ไม่ได้ใช้ตรวจแอนติบอดีโดยตรง เนื่องจากแอนติบอดีเป็นโปรตีนที่พบในพลาสมา (เลือด) และ MassARRAY มุ่งเน้นการวิเคราะห์ DNA มากกว่าการตรวจแอนติบอดีของหมู่เลือดมักใช้วิธีอื่น เช่น

  • Indirect Antiglobulin Test (IAT): ใช้ตรวจแอนติบอดีในพลาสมาที่อาจทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดง
  • Direct Antiglobulin Test (DAT, Coombs Test): ใช้ตรวจแอนติบอดีที่จับอยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง
  • ELISA หรือ Immunoassay:  ตรวจหาปริมาณแอนติบอดีเฉพาะทาง

 

💡 ข้อดีของการใช้ MassARRAY ในการตรวจ Blood Group Typing:

  • แม่นยำสูง: การใช้ Mass Spectrometry ช่วยให้สามารถระบุชนิดของแอนติเจนได้อย่างแม่นยำ
  • ระบุหมู่เลือดได้หลายระบบ: ไม่เพียงแค่ ABO และ Rh, แต่ยังสามารถตรวจสอบหมู่เลือดอื่นๆ เช่น KellKiddDuffy ได้ในครั้งเดียว
  • เหมาะสำหรับกรณีที่มีความยุ่งยาก: เช่น ในกรณีที่มีการถ่ายเลือดหลายครั้ง หรือการตรวจในทารกที่ไม่สามารถตรวจเลือดแบบปกติได้
  • สามารถตรวจเลือดที่ไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีอื่น: โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการระบุหมู่เลือดจากการตรวจ DNA ในผู้ที่มีปัญหาหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับเม็ดเลือด

สรุป

การใช้ MassARRAY ในการตรวจ Blood Group Typing เป็นการใช้เทคนิค Mass Spectrometry เพื่อตรวจ DNA และระบุแอนติเจนต่างๆ บนเม็ดเลือดแดง โดยการตรวจหา SNPs ที่เกี่ยวข้องกับหมู่เลือดชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงและสามารถใช้ระบุหมู่เลือดในหลายระบบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

Maneesawan Dansawan