Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

ยาปังๆกับร่างกายพังๆ!!

         

ยาปังๆกับร่างกายที่อาจจะพัง!!

 

       ยาถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ เพราะทุกคนสามารถเจ็บป่วยได้ตลอดเวลา ยาเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ของทั้งมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากยาเป็นเภสัชเคมีภัณฑ์การเข้าใจเรื่องการใช้ยาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักคือคุณภาพของยา ในทางอุตสาหกรรมการผลิตยาและเวชภัณฑ์จำเป็นจะต้องมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของยาเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของเภสัชตำรับ เภสัชตำรับที่มักถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานในไทยคือเภสัชตำรับยาสหรัฐอเมริกา (United States Pharmacopeia หรือ USP)

       UPS <232> และ <233> ว่าด้วยมาตราฐานการตรวจวิเคราะห์โลหะปนเปื้อนและวิธีการวิเคราะห์ เนื่องจากโลหะบางชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายหากได้รับในปริมาณที่ไม่มากเกินไป เช่น สังกะสี (Zn) โครเมียม (Cr3+) เหล็ก (Fe) ในทางกลับกันการปนเปื้อนของโลหะหนักบางชนิดที่มีโอกาสปนเปื้อน สามารถเกิดความเป็นพิษแม้ได้รับในปริมาณที่เล็กน้อย ได้แก่ สารหนู (As) แคดเมียม (Cd) ตะกั่ว (Pb) และปรอท (Hg) การปนเปื้อนนี้มักเกิดจากกระบวนการผลิต วัตถุดิบ ตัวเร่งปฏิกิริยา หรืแม้กระทั่งเครื่องจักรหรือการบรรจุภัณฑ์

       การได้รับโลหะหนักที่เป็นพิษนี้อย่างต่อเนื่อง จะเกิดการสะสมและแสดงผลของโรคออกมา เช่นพิษของแคดเมียม ทำให้กระดูกผุ แตกหักง่าย ส่งผลให้เกิดโรคอิไตอิไต หรือพิษจากการสะสมของตะกั่วจะขัดขวางการสร้างฮีโมโกลบินและเม็ดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจาง และส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์

 

 

แล้วยาที่เราใช้มีการปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด ? ในการตรวจสอบหาปริมาณโลหะปนเปื้อนในยานั้นจะทดสอบตามวิธีมาตรฐาน USP หมายเลข <232> และ <233>

โดย USP <232> คือข้อกำหนดที่ระบุถึงการจำกัดปริมาณการปนเปื้อนของธาตุต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ยาโดยจำแนกตามระดับความเป็นพิษในรูปแบบการสัมผัสและรูปแบบการเข้าสู่ร่างกายที่ยอมรับได้ต่อวัน ดังแสดงในตาราง

 

 

 

USP <233> ว่าด้วยเรื่องวิธีการเตรียมตัวอย่าง เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่เทคนิค ICP-OES และ เทคนิค ICP-MS ซึ่งเทคนิคทั้งสองเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูง มีความจำเพาะเจาะจง สามารถตรวจวัดปริมาณโลหะหนักปนเปื้อนเพียงน้อยนิดได้ในระดับไมโครกรัมต่อลิตร ให้ผลการวิเคราะห์ที่มีความถูกต้อง มีแม่นยำ เชื่อถือได้ โดยใช้เวลาในการวิเคราะห์รวดเร็ว เพียง 2-3 นาทีเท่านั้น โดยในการวิเคราะห์โลหะปนเปื้อนในยาด้วยเทคนิคนี้ จะต้องเตรียมตัวอย่างให้อยู่ในรูปของสารละลายก่อนนำไปวิเคราะห์ ตัวอย่างยาหากเป็นของแข็งให้ไปบดให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน จากนั้นนำไปเติมสารละลายที่เหมาะสม หรือเตรียมด้วยเทคนิคที่มีการให้ความร้อนเพื่อดึงโลหะปนเปื้อนที่เราสนใจออกมา จากนั้นนำไปวิเคราะห์

 

 

 

การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะที่ปนเปื้อนในยา นอกจากทำให้ผู้ผลิตยาสามารถผลิตยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย น่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค ลดการเกิดการเจ็บป่วยจากยาที่ไม่มีคุณภาพได้แล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ โดยสามาารถผลิตยาที่มีคุณภาพใช้เองไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

 

 

Kantima Sitlaothavorn