Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 980

รู้หรือไม่ เหล็กกล้าประสมต่ำคืออะไร

   

   

    วันนี้เรามาเอาใจธุรกิจสายโลหะกันบ้าง เพื่อนๆรู้จักเหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) และเหล็กกล้าประสมต่ำ (Low Alloy Steel)กันหรือไม่จริงๆแล้วโลหะทั้ง2ชนิดนี้มีอยู่รอบตัวเรามากมาย เช่น รถยนต์ ท่อขนส่ง เส้นลวด หรือแม้แต่เครื่องจักร ซึ่งเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าประสมต่ำจะเป็นการแบ่งเกณฑ์ของเหล็กโดยทั่วไปแล้วเหล็กกล้าประสมต่ำจะยึดมาตรฐานของปริมาณนิกเกิลและโครเมี่ยมเป็นองค์ประกอบรวมกันไม่เกิน กว่า 5% ขณะที่เหล็กกล้าคาร์บอนจะมีปริมาณคาร์บอนและโมลิบดินัมที่เป็นองค์ประกอบ โดยมีโลหะอื่นๆปริมาณต่ำผสมอยู่ด้วย การมีธาตุอื่นเป็นองค์ประกอบล้วนเป็นการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของเหล็กทั้งสิ้น

 

         

 

     ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลายๆบริษัทผู้ผลิต และผู้ซื้อจะต้องมีกระบวนการควบคุมคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพ (QA/QC) เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีเยี่ยม เทคนิคที่นิยมกันมากในหมู่ QA/QC มากว่า 35 ปี อาศัยการทำลายผิวตัวอย่างเพื่อให้พลังงานกับตัวอย่าง และมีการคายคลื่นแสงออกมา มีด้วยกัน2เทคนิคได้แก่

1.อาร์ค ข้อดีของเทคนิคอาร์คคือใช้เวลาเพียง 3-5 วินาที แต่ไม่สามารถวิเคราะห์แสงที่ปลดปล่อยของธาตุหลายตัวได้ เช่น คาร์บอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน และค่าความถูกต้องอยู่ในช่วง ± 20% นอกจากนี้การทำความสะอาดยังจำเป็นต่อการป้องกันการปนเปื้อนอีกด้วย

2.สปาร์ค ด้วยการนำก๊าซอาร์กอนมาใช้ทำให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณของคาร์บอน ฟอสฟอรัสและกำมะถันเป็นไปได้ นอกจากนี้ความถูกต้องยังเหนือกว่าอาร์คแต่ต้องแลกด้วยการเตรียมพื้นผิว และผู้ทดสอบที่ชำนาญการกว่าเทคนิคอาร์ค  พื้นที่ผิวที่หายไปนั้นจะกว้างแต่ไม่ลึกแบบอาร์ค

   โดยแบรนด์เครื่องมือวิเคราะห์ระดับโลกอย่างเทอร์โมฟิชเชอร์ ไซแอนติฟิคจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์ รุ่น Niton XL2 ที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่าเทคนิคเก่าทั้ง2วิธี คือได้ผลรวดเร็วในไม่กี่วินาทีใช้งานง่ายโดยไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญสามารถวิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัส และกำมะถันได้อย่างแม่นยำนอกจากนี้ยัง วิเคราะห์ชิ้นงานขนาดเล็กเพียง (3มม.)ที่สำคัญที่สุดคือไม่มีการทำลายผิวตัวอย่าง เมื่อทราบผลสามารถออกใบรับรองผลได้ทันที และมีความแม่นยำยิ่งกว่าวิธีทดสอบด้วยกรดไนตริก หรือการทดสอบด้วยไฟอีกด้วย