การสำรวจธรณีเคมีในภาคสนามด้วยเทคนิค XRF แบบอุปกรณ์พกพา
การสำรวจธรณีเคมีเป็นวิธีการหนึ่งในการสำรวจทางธรณีวิทยา เนื่องจากธรณีเคมีของแร่นั้นมีความสัมพันธ์กันและสามารถบ่งบอกความเป็นมา และลักษณะการ กระจายตัวของชั้นหินและแหล่งแร่ได้ เครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพื่อนำมาศึกษาธรณีเคมี เพื่อดูส่วนประกอบของธาตุในชั้นหิน ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถสร้างแผนผังที่ซับซ้อน ทางการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรณีได้ เพื่อประเมินโอกาสที่จะพบแร่ต่างๆในตำแหน่งชั้นหินของพื้นที่สำรวจนั้นๆ
ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์แบบพกพา เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการตรวจสอบธรณีเคมีออกมา โดยสามารถแสดงค่าส่วนประกอบของธาตุในแร่และชั้นหิน รวมทั้งแสดงผลออกมาเป็นออกไซด์ของธาตุได้ในทันทีภายในภาคสนาม ทำให้ประหยัดเวลาในการทดสอบในห้องปฏิบัติการและสะดวกในการแปลความผลจากการออกภาคสนาม รวมทั้งมีผลการทดสอบที่สัมพันธ์กับเครื่องมือทดสอบในห้องปฏิบัติการ
รูปแสดงการเปรียบเทียบการลดขั้นตอนการทดสอบด้วย HHXRF และ ICP/AA และจากรูปแสดงตัวอย่างการนำค่าผลการทดสอบในภาคสนามมาเชื่อมต่อและแสดงผลในโปรแกรม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS ได้ทันทีหลังจากกลับมาจากภาคสนาม
รูปเปรียบเทียบข้อมูลผลการทดสอบจาก HHXRF ในภาคสนามและเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
รูปเปรียบเทียบการแปลผลของชั้นหินจาก HHXRF ในภาคและเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการนั้นสามารถแสดงค่าที่แม่นยำได้มากกว่า แต่จากการศึกษาเทียบผลการทดสอบด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์แบบพกพากับผลการทดสอบในภาคสนามนั้นมีความสัมพันธ์ของข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สำรวจ หากมุ่งเน้นการสำรวจที่รวดเร็ว และเพิ่มกำลังการผลิต การเลือกสำรวจด้วยเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนส์แบบพกพาถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวกและเหมาะสม สำหรับการสำรวจในภาคสนามและนำผลมาใช้งานในทันที