เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าน้ำผึ้งแสนหวานที่เราชอบรับประทานอยู่นั้น แท้จริงแล้วมีองค์ประกอบอยู่มากมาย
ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และที่อาจจะเป็นโทษต่อร่างกาย
น้ำผึ้งคืออะไร?
น้ำผึ้ง (Honey) นั้นแท้จริงแล้วไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาจากผึ้งโดยตรง แต่มาจากน้ำหวานจากดอกไม้ที่ผึ้งงานไปดูดน้ำหวานเอามาไว้ในกระเพาะของผึ้งแต่ละตัว เมื่อผึ้งดูดน้ำหวานแล้ว ผึ้งแต่ละตัวก็จะนำน้ำหวานที่ดูดได้ในกระเพาะไปเก็บสะสมไว้ในรวงผึ้ง ดังนั้น น้ำผึ้งที่เรากินอยู่นั้นก็คือน้ำหวานที่มาจากเกสรดอกไม้นั้นเอง โดยน้ำผึ้งเหล่านี้อาจมีโอกาสพบโลหะหนักปนเปื้อนได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น แหล่งเก็บน้ำหวานอยู่ใกล้กับบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม หรือมีการลักลอบทิ้งขยะของเสียอันตรายลงดิน เเละแหล่งน้ำ ทำให้มีโลหะหนักปะปนอยู่
เราจะสามารถหาปริมาณของโลหะหนักปนเปื้อนเหล่านั้นได้อย่างไร?
สำหรับเทคนิคในการวิเคราะห์หาโลหะปนเปื้อนที่อาจมีอยู่ในน้ำผึ้งมีหลากหลายเทคนิคไม่ว่าจะเป็น inductively coupled plasma optical emission spectroscopy (ICP-OES) ,inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) และอีกหนึ่งเทคนิคที่มีความน่าสนใจคือ เทคนิค Atomic Absorption Spectroscopy (AAs) ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่ง่ายไม่ยุ่งยาก และประหยัดเวลาเพียงแค่นำตัวอย่างที่เตรียมไว้เข้าเครื่อง AAs ก็สามารถหาปริมาณของโลหะปนเปื้อนในแต่ละตัวอย่างภายในระยะเพียงไม่นาน!!
ภาพแสดงเครื่อง Flame AAs ยี่ห้อ Thermo Scientific รุ่น iCE3300
เพื่อนๆ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างครับ รายละเอียดของเครื่อง AAs