WEEE คืออะไร
WEEE ย่อมาจากคำว่า Waste Electrical and Electronic Equipment เป็นมาตรการที่เหมาะสมเพื่ดลดปริมาณการทิ้งเศษซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระเบียบการกำจัดเศษซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Directive 2002/96/EC on Waste Electrical and Electronic Equipment หรือ WEEE) เป็นระเบียบที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกอียูใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณ การทิ้งเศษซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment หรือ WEEE) อาทิ มีระบบการแยก WEEE ออกจากขยะประเภทอื่นๆ โดยมีสถานที่คัดแยกที่เหมาะสม ผู้บริโภคในครัวเรือนสามารถนำ WEEE ไปคืนต่อผู้จัดจำหน่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ดังนั้น RoHS RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม คือการมาตรการในการผลิต ส่วน WEEE คือมาตรการในการทิ้งเศษซากนั่นเองครับ
การแยก WEEE ออกจากเศษซากประเภทอื่นๆ
ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2549 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องดำเนินการให้มีอัตราการแยก WEEE ออกจากขยะประเภทอื่นๆ โดยเฉลี่ยอย่างน้อย 4 kg ต่อประชากร 1 ราย ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะได้รับการปรับแก้อีกครั้งหนึ่งภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2551 โดยคำนึงถึงประสบการณ์ด้านเทคนิคและเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ซึ่งอาจใช้การคำนวณจากร้อยละของปริมาณอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูก จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในครัวเรือนในช่วงปีก่อนหน้านั้น
ก่อนที่ WEEE จะถูกนำไปผ่านกระบวนการใดๆ จะต้องนำของเหลวหรือส่วนประกอบต่างๆ เช่น แบตเตอรี่ หมึกพิมพ์ หลอด cathode ray เป็นต้น ออกมาจาก WEEE ก่อน (รายละเอียดของเหลวหรือส่วนประกอบปรากฏใน Annex II ของระเบียบฯ)
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องกำหนดให้สถานที่ที่ใช้ใน การจัดการกับ WEEE (treatment operations) ต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานรับผิดชอบ และมีการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ สถานที่จัดการดังกล่าวต้องมีความสามารถด้านเทคนิคตามที่ปรากฏใน Annex III ของระเบียบ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับ WEEE จากผู้บริโภคในครัวเรือน
ภายในวันที่ 13 ส.ค. 2548 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องกำหนดให้ผู้ผลิตออกค่าใช้จ่ายสำหรับการรวบรวม WEEE การจัดการ (treatment) การฟื้นฟูสภาพ (recovery) และการจำกัด WEEE จากครัวเรือนในสถานที่จัดแยกขยะอย่างเหมาะสม
สำหรับสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดหลังจากวันที่ 13 ส.ค. 2548 ผู้ผลิตแต่ละรายจะต้องรับผิดชอบสำหรับการออกค่าใช้จ่ายในกระบวนการจัดการที่ เป็น WEEE ที่ตนเป็นผู้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตสามารถเลือกได้ว่าจะออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวในลักษณะแยกหรือรวมกลุ่มกัน
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องกำหนดให้ผู้ผลิตแต่ละรายให้การรับรอง ในขณะที่วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดว่าจะออกค่าใช้จ่ายในการจัดการ WEEE และประทับตราบนผลิตภัณฑ์ของตนเองที่ระบุว่าสินค้าดังกล่าววางตลาดภายหลังวัน ที่ 13 ส.ค. 2548 ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดการ WEEE อยู่ในรูปของแผนการเงินที่เหมาะสม อาจเป็นการประกันการรีไซเคิล หรือการระงับบัญชีธนาคาร เป็นต้น ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บ การจัดการ และกำจัด WEEE จะต้องไม่แสดงให้ผู้ซื้อได้เห็นแยกต่างหากในขณะที่มีการจำหน่ายสินค้าใหม่ นั้นๆ
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดก่อนวันที่ 13 ส.ค. 2548 ค่าใช้จ่ายในการจัดการจะอยู่ที่ผู้ผลิตทุกรายที่ดำเนินธุรกิจอยู่ ณ เวลาที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นโดยแบ่งตามสัดส่วน เช่น ตามสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาดของประเภทผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสำหรับ WEEE ที่มิได้มาจากครัวเรือน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดภายหลังวันที่ 13 ส.ค. 2548 กำหนดให้ผู้ผลิตเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด แต่ผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดก่อนวันที่ 13 ส.ค. 2548 สามารถกำหนดให้ผู้ใช้ที่มิใช่ครัวเรือนรับผิดชอบบางส่วนหรือทั้งหมดของค่า ใช้จ่ายในการรวบรวม จัดการ ฟื้นฟูสภาพ และกำจัด WEEE ได้
ประเทศสมาชิกจะต้องกำหนดมาตรการเพื่อให้ผู้ บริโภครับทราบข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เช่น ข้อห้ามไม่ให้ทิ้ง WEEE รวมกับขยะทั่วไป ระบบการคืนและรวบรวมที่ผู้บริโภคสามารถใช้บริการได้ บทบาทของผู้บริโภคในการนำ WEEE กลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล และการฟื้นฟูสภาพรูปแบบต่างๆ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์อันเกิดจากสารเคมี อันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น โดยกำหนดให้มีเครื่องหมายระบุตาม Annex IV ของระเบียบอย่างชัดเจน
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต้องออกกฎหมายภายใน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 13 ส.ค. 2547 ซึ่งจะต้องมีวัตถุประสงค์เฉพาะตามที่ระเบียบกำหนดไว้ มีผลและการควบคุมตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และหากไม่มีการปฏิบัติตามระเบียบจะต้องใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับให้มีการ ปฏิบัติตามระเบียบต่อไป และภายใน 5 ปี ภายหลังการประกาศระเบียบนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำรายงานโดยมีพื้นฐานจากข้อมูลด้านเทคโนโลยี ประสบการณ์ที่ได้รับ ฯลฯ ซึ่งอาจจัดทำเป็นข้อเสนอในการปรับปรุงระเบียบนี้ต่อไป
WEEE และ RoHS:ระเบียบสหภาพยุโรป กับผู้ส่งออกชาวไทย
หนึ่งในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่หวังเน้นลดภาษีอากรขาเข้าเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าทุกฝ่ายที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ยังมีปราการอีกหลายมาตรการในการปกป้องผู้ผลิตและผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมในประเทศปลายทาง ดังนั้นการป้องกันและการแก้ไขจึงมักเกิดขึ้นกับสินค้าอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปไปยังตลาดสหภาพยุโรป อาจได้รับผลกระทบของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการประกาศใช้ระเบียบ WEEE เนื่องจากบางประเทศในสหภาพยุโรป อาจกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้ใช้สินค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ หรือรับผิดชอบร่วมกัน ในการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสินค้าที่ได้จำหน่ายออกไปอยู่ในความครอบครองของผู้ใช้สินค้าก่อนวันที่ 13 ส.ค. 2548 และผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดในการอุดหนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว สำหรับซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสินค้าที่ได้จำหน่ายออกไปอยู่ในความครอบครองของผู้ใช้สินค้าหลังจากวันที่ 13 ส.ค. 2548 อาจทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ และอาจจะไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดสหภาพยุโรปได้อีกต่อไป หากไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับระเบียบ RoHS นี้ได้
เทคนิคเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนต์กับมาตรฐานการวิเคราะห์ ROHs-WEEE
การใช้รังสีเอ็กซ์ในการทดสอบ เป็นเทคนิคที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำลายตัวอย่าง ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่าง ทำให้มีความนิยมเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนต์รุ่น Niton ผลิตภัณฑ์เทอร์โม ฟิชเชอร์ ไซแอนติฟิค จากประเทศอเมริกา สามารถตอบโจทย์การคัดกรองโลหะเป็นพิษตามที่มาตรฐานกำหนดได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้การนำโลหะมีค่าไปทำการรีไซเคิล ก็สามารถทำได้อย่างดีเยี่ยม จนหลายๆประเทศมีบริษัทฯที่ทำหน้าที่แปรรูปขยะจากโลหะมีค่า จำพวกโลหะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สร้างมูลค่ามหาศาลกันเลยทีเดียวครับ