ทุกคนมักจะมีอาหารที่ตนเองชอบกันทั้งนั้น บางคนก็เป็นสายคลีน เน้นผักผลไม้ คนเหล่านี้เขาจะทำการศึกษาข้อมูลในเรื่องโภชนาการด้านอาหารมาเป็นอย่างดี กินอย่างไรให้ หุ่นดี ผิวสวย หน้าสวย เป็นต้น ส่วนบางคนก็เป็นสายกิน เที่ยว ชิมเพลิน โดยเฉพาะประเภทของอาหารที่เป็นแบบทอด เคี้ยวกรอบ มันส์อร่อย มักจะเป็นของโปรดของหลายคนกันเลยทีเดียว แต่ทราบกันหรือไม่ว่า อาหารที่เรากินกันเข้าไปนั้น นอกจากข้อดีคือความอร่อยแล้ว ยังมีข้อเสียด้วย ซึ่งในบทความนี้จะขอพูดถึงปริมาณ “คอเลสเตอรอล” ในอาหารที่เป็นตัวร้ายก่อให้เกิดโรคกับร่างกายของเรา
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารอาหารประเภทไขมัน พบในเซลล์ร่างกาย และถูกขนส่งในกระแสเลือด โดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งร่างกายสามารถรับคอเลสเตอรอลได้จาก 2 แหล่ง คือ ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง และได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไปใน แต่ละวัน โดยส่วนใหญ่แล้ว คอเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหารมาจากเนื้อสัตว์ ในขณะที่พืชผักและผลไม้มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่น้อยมากๆ หรือแทบไม่มีเลย แต่จะมีพวกสเตอรอล (Sterol) ที่ช่วยทำหน้าที่ในการยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลแทน เรามาดูกันว่า อาหารที่เราชอบกินกันมีปริมาณคอเลสเตอรอลเท่าไรกันบ้าง
ตัวอย่าง ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหาร
ขอบคุณข้อมูลจาก : กองบรรณาธิการ HD และโรงพยาบาลธนบุรี 2
เมื่อเรามีการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เข้าไปเป็นจำนวนมาก คอเลสเตอรอลซึ่งประกอบไปด้วยไขมันจำนวนมาก ไม่สามารถละลายน้ำได้ การเคลื่อนย้ายต้องเกาะกับไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ซึ่งไลโปโปรตีนมีความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotein-LDL) เป็นตัวหลักในการเคลื่อนย้ายคอเลสเตอรอไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย สามารถจับกับผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลได้ โดยปริมาณคอเลสเตอรอลที่อยู่ในร่างกายไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 เดซิลิตร ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในที่สุด
ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า ปริมาณคอเลสเตอรอลขึ้นอยู่กับอาหารที่เราทานเข้าไป ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์หาปริมาณของคอเลสเตอรอลได้หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ วิธี Enzymatic และด้วยเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในตอนนี้ จึงขอแนะนำเครื่อง Discrete Industrial Analyzer รุ่น Gallery Enzyme Master เป็นเครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ได้ 2 เทคนิควิธี ได้แก่ เทคนิค Electrochemical และ Photometric เหมาะกับงาน Routine เป็นอย่างมาก สามารถหาปริมาณคอเลสเตอรอลได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่นำตัวอย่างมาสกัดด้วยสารละลาย เช่น ไอโซโพรพานอลแล้วเติมกรด จากนั้นก็นำไปเข้าเครื่อง Discrete Industrial Analyzer พร้อมทั้งใส่ Reagent และนำไปวัดที่ความยาวคลื่น 540 นาโนเมตร เพียงเท่านี้เครื่องก็สามารถวิเคราะห์หาปริมาณคอเลสเตอรอลได้แล้วจ้า