Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

T7 RNA polymerase จากเอนไซม์ในไวรัสรุกรานแบคทีเรีย สู่การเป็นเทคโนโลยีชีวภาพใช้ศึกษาชีวโมเลกุลในปัจจุบัน

 

“ไลโฟมิกส์ ขอเล่า” 

            Bacteriophage T7 หรือเรียกสั้นๆ ว่า T7 phage ได้ถูกเริ่มศึกษามาตั้งปี ค.ศ. 1945 โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านคือ Demerec และ Fano โดย T7 phage เป็นไวรัสที่รุกรานในเซลล์แบคทีเรีย โดยเฉพาะ Escherichia coli  กระบวนการบุกรุกเซลล์โฮสต์ (Host cell) เริ่มจาก T7 phage นี้จะสามารถจับกับที่รับ (receptor) อยู่บนพื้นผิวของเซลล์โฮสต์ได้อย่างจำเพาะ  หลังจากนั้นมันจะย่อย O หรือ K แอนติเจนบนผิวเซลล์ พร้อมทั้งปล่อยไลโซไซม์เพื่อย่อยเปบทิโดไกลแคนซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ พร้อมปล่อยสารพันธุกรรมของตัวมันเองลงไปยังเซลล์โฮสต์ และนี่ก็ทำให้เซลล์แบคทีเรียนั้นติดเชื้อ (infection) นั่นเอง  ทันทีที่สารพันธุกรรม T7 phage เข้าสู่เซลล์โฮสต์ การจำลอง DNA (DNA replication)ของเซลล์โฮสต์ก็หยุดลงพร้อมกับกระบวนการเพิ่มจำนวนของ T7 phage ก็เริ่มขึ้น เซลล์แบคทีเรียแตกออกในที่สุด ปลดปล่อยอนุภาคไวรัสจำนวนนวนมากพร้อมที่จะบุกรุกเซลล์โฮสต์ต่อไป  

           T7 RNA Polymerase เป็นเอนไซม์สำคัญที่ถูกใช้ในกระบวนการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส T7 Phage หลังจู่โจมเข้าสู่เซลล์โฮสต์ ด้วยการสร้าง RNA จาก DNA

           T7 ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 T7 ยีนได้ถูกนำมาสร้างแผนที่ทางเจเนติกส์และหาหน้าที่การทำงานด้วยเทคนิคทางกายภาพและชีวเคมี โดยกระบวนการศึกษานั้นมีตั้งแต่ การเข้าสู่โฮสต์เซลล์ E. coli การยับยั้งโฮสต์เซลล์และนำไปสู่การแสดงออกของ T7 ยีน, การจำลองตัวเอง และกระบวนการรวมตัวกลายเป็น Phage ภายในเซลล์โฮสต์ ในเวลาต่อมา T7 ยีนส์ได้ถูกถอดลำดับเบสได้สำเร็จซึ่งมีทั้งหมด 39,937 คู่เบส เอนไซม์ T7 RNA polymerase มีจุดเด่นคือสามารถถอดรหัส (Transcription) ได้อย่างจำเพาะเจาะจงกับตำแหน่ง T7 โปรโมเตอร์  (T7 promoter)  เท่านั้น โดยไม่ไปยุ่งกับ promoter อื่นในเซลล์และสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีนออกมาได้ในปริมาณที่สูง ด้วยกระบวนการเข้าสู่โฮสต์เซลล์และการใช้ทรัพยากรณ์ในเซลล์เพื่อสร้างโปรตีนที่สำคัญต่อการจำลองตัวเองของไวรัสจำนวนมาก จุดนี้เอง T7 จึงได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและถูกนำมาประยุกต์ใช้จนถึงปัจจุบัน

           T7 เริ่มได้รับการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี 1984 โดย Brookhaven National Lab (BNL) ประเทศสหรัฐอเมริกา ราว ๆ 800 บริษัทมี license ของ T7 ซึ่งทำให้ BNL สร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นที่น่าสนใจว่า จากความรู้พื้นฐานด้านงานวิจัยเหล่านี้ถูกพัฒนาต่อเนื่องและกลับกลายมาเป็นเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และใช้กันอย่างแพร่หลายในงานชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular biology)

  • T7 RNA polymerase ใช้ในการสังเคราะห์จีโนม (Synthetic genome) ด้วยกระบวนการถอดรหัสในหลอดทดลอง (in vitro transcription)
  • Synthesis and Labeling of RNA In Vitro
  • RNA study
  • Expression of clone gene

“ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง” ภายใต้แบรนด์ Lucigen

NxGen® T7 RNA Polymerase 

-25,000 U   (Cat. No. 30223-1)

-125,000 U (Cat. No. 30223-2)

NxGen® RNAse Inhibitor

-10,000 U (Cat. No. 30281-1)

-50,000 U (Cat. No. 30281-1)

เว็บไซต์: https://www.lucigen.com/NxGen-T7-RNA-Polymerase/

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ไลโฟมิกส์ จำกัด, Call: 02-45408533, Line: @Lifomics

อ้างอิง: -https://en.wikipedia.org/wiki/T7_phage

           -https://en.wikipedia.org/wiki/T7_RNA_polymerase#Application

           -https://www.bnl.gov/biosciences/staff/Studier.php

          - https://www.bnl.gov/newsroom/news.php?a=113278

          - https://www.bnl.gov/newsroom/news.php?a=22241

          - https://ibiosite.wordpress.com/2016/02/11

Autchara Wongsathep