Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

ดินดีเขาดูกันยังไงนะ

ถ้าดินดี พืชย่อมแข็งแรงและสมบูรณ์

          องค์ประกอบที่สำคัญของดินอย่างหนึ่งก็คือ อินทรีย์วัตถุ การจัดการอินทรีย์วัตถุนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะอินทรีย์วัตถุเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดช่องว่างหรืออากาศในดิน และความสามารถในการเก็บกักน้ำของดิน  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ปริมาณอินทรีย์วัตถุจะถูกใช้เป็นดัชนีสำคัญในการ บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของดินนั่นเอง

          ปริมาณของธาตุคาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) ถือเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของดิน ดินที่ดีควรมีอินทรีย์วัตถุ โดยมีสัดส่วนของคาร์บอน (C) : ไนโตรเจน (N) ประมาณ 25 : 1    อย่างเช่นปุ๋ยหมักที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์แล้วจะมีสัดส่วนของ C : N ตามที่ต้องการ หากใช้อินทรีย์วัตถุที่มี C มาก เช่น ขี้เลื่อย เติมลงไปในดินจะทำให้ต้นไม้แสดงอาการขาดไนโตรเจน เนื่องจากเมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุประเภทนี้ จุลินทรีย์จะดึงไนโตรเจนจากดินเพื่อใช้ในการย่อย ซึ่งจะทำให้ดินเกิดปัญหาขาดธาตุไนโตรเจน ดังนั้นจึงไม่ควรใส่อินทรีย์วัตถุประเภทนี้ในขณะที่ปลูกพืชหรือในช่วงที่พืช กำลังต้องการไนโตรเจน ส่งผลให้การเจริญเติบโตของใบช้าหรือหยุดชะงักลง 
ขณะที่การหาปริมาณธาตุกำมะถัน  ซึ่งจัดเป็นธาตุอาหารพืชในกลุ่มธาตุอาหารรอง โดยทั่วไปพืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุหลัก แต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เนื่องจากธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ซีสเตอีน (cysteine) กับ เมไทโอนีส (methiomine) และเป็นองค์ประกอบของวิตามิน เช่น ไทอามีน (thiamine) ใน โคเอนไซม์ (coenzyme) ที่ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์และสังเคราะห์โปรตีน กำมะถันไม่ค่อยเคลื่อนย้ายในพืชทำให้อาการขาดเกิดกับใบอ่อนก่อน ต้นข้าวที่ขาดกำมะถันจะมีอาการคล้ายกับการขาดไนโตรเจน ต่างกันตรงที่การขาดไนโตรเจนจะเกิดที่ใบแก่ก่อน แต่การขาดกำมะถันจะเกิดที่ใบอ่อนก่อนแล้วตามด้วยใบแก่ โดยเริ่มแรกที่กาบใบจะมีสีเหลืองแล้วลุกลามสู่ใบ อาจพบต้นข้าวมีสีเหลืองทั้งต้นในระยะแตกกอ ความสูงและการแตกกอลดลง ต้นข้าวและใบข้าวเล็กลง นอกจากนี้การขาดกำมะถันยังทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาของข้าวช้าลง รวงข้าวจะน้อยและสั้น จำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง จำนวนท้องไข่ของเมล็ดเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าข้าวที่ขาดกำมะถันจะแสดงอาการใกล้เคียงกับการขาดไนโตรเจนมาก จนบางครั้งไม่สามารถบอกความแตกต่างได้ชัดเจนและกำมะถันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารระเหยของพืช ทำให้พืชมีกลิ่นเฉพาะตัวเช่นกลิ่นของกระเทียม และกลิ่นของทุเรียน เป็นต้น

          เทคนิคดั้งเดิมที่ใช้ในการทดสอบหาปริมาณธาตุในดินและพืช ค่อนข้างที่จะใช้เวลาในการเตรียมตัวอย่างและใช้สารเคมีที่อันตราย รู้จักในชื่อของ kjeldahl (เจลดาห์ล) วันนี้ขอเสนอทางเลือก เทคนิคที่มีความแม่นยำ ถูกต้อง และลดปริมาณสารเคมี ลดระยะเวลาในการวิเคราะห์ และสามารถลดความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานได้จึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในชื่อเทคนิค Combustion และ Pyrolysis ภายใต้ผลิตภัณฑ์ Thermo Scientific™ FlashSmart

N-C Soils Analyzer (รูปที่ 1) คือเครื่องมือสำหรับการทดสอบหาปริมาณ NC ใน Soil ด้วยหลักการทำงานบนพื้นฐานการเผาไหม้ตัวอย่างภายใต้บรรยากาศแก๊สออกซิเจนในเตาเผาซึ่งภายในเตาเผาบรรจุ Reactor ที่ pack สารไว้เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและ รีดักชัน ได้เป็นแก๊สผสมของ N2 กับ CO2 และถูกพาเคลื่อนที่ด้วย แก๊สฮีเลียม (carrier gas)  ไปยัง GC Column ที่มีการกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสม เกิดการแยกและวัดปริมาณด้วยตัวตรวจวัดชนิด Thermal Conductivity Detector ได้เป็นโครมาโตรแกรมของพีค  N C

สำหรับการทดสอบหาปริมาณกำมะถัน ต้องเลือกใช้ N-C-S Configuration ในรูปที่ 2

และการหาปริมาณกำมะถันในปริมาณน้อย (น้อยกว่า 10 ppm) จะใช้ตัวตรวจวัดเป็น FPD ดังรูปที่ 3

รูปที่ 1 FlahSmart N-C Configuration

รูปที่ 2 FlahSmart N-C-S Configuration

รูปที่ 3 FlahSmart Sulfur Configuration by FPD detector

           การตรวจวัดด้วยเทคนิคดังกล่าว ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าสามารถใช้ในการวิเคราะห์ธาตุอินทรีย์ต่างๆได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะ C-H-O-N-S ยกตัวอย่างเช่น

สามารถติดตามเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่่ https://assets.thermofisher.com/TFS-Assets/CMD/Application-Notes/AN-42264-OEA-Nitrogen-Carbon-Sulfur-Agronomy-FlashSmart-AN42264-EN.pdf 

 

 

Kantima Sitlaothavorn