GC-Olfactometry
กลิ่นที่มนุษย์สามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้นั้น เกิดจากสารระเหยที่ให้กลิ่น บางกลิ่นไม่ได้เกิดจากสารเพียงชนิดเดียวแต่เกิดจากการผสมกันของสารหลายๆ ชนิดทำให้เกิดเป็นกลิ่นขึ้นมา ดังนั้นในการวิเคราะห์องค์ประกอบที่ทำให้เกิดกลิ่นนั้นมีความจำเป็นจะต้องแยกสารผสมออกจากกันก่อนแล้วจึงตรวจวัดสารเหล่านั้นได้ว่าเกิดจากการผสมของสารใด
เทคนิคที่ใช้ในการแยกสารผสมเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography) แต่การตรวจวัดสารที่ให้กลิ่นเหล่านี้ยังไม่มีตัวตรวจวัดชนิดใดที่ให้ความไวในการตรวจวัดได้เท่ากับจมูกของมนุษย์ ดังนั้นในการตรวจวัดกลิ่นจึงได้ประยุกต์ให้เป็นการตรวจวัดที่ทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และประสาทสัมผัสของมนุษย์ เรียกเทคนิคนี้ว่า Gas Chromatography-Olfactometry (GC-O)
หลักการทำงานของระบบ GC-O คือตัวอย่างถูกฉีดเข้าสู่ระบบแก๊สโครมาโทกราฟีเพื่อแยกสารผสมออกจากกัน หลังจากที่สารผสมถูแยกออกจากกันแล้วจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเข้าสู่ตัวตรวจวัดของระบบแก๊สโครมาโทกราฟีเพื่อบันทึกขนาดของสัญญาณที่เกิดขึ้นจากสารชนิดต่างๆ ส่วนที่สองเข้าสู่ระบบ Olfactometry เพื่อให้มนุษย์ดมกลิ่นและบันทึกสัญญาณของกลิ่นที่มนุษย์สัมผัสได้ ทำให้เกิดการตรวจวัดจาก 2 ตัวตรวจวัดเปรียบเทียบกันตลอดเวลา
สำหรับผลการวิเคราะห์ที่ได้จากระบบ GC-O จะได้โครมาโทแกรม 2 โครมาโทแกรม คือโครมาโทรแกรมจากตัวตรวจวัดของเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ และโครมาโทแกรมจากการบันทึกของมนุษย์
โครมาโทแกรมจากตัวตรวจวัดของเครื่อง GC
โครมาโทแกรมจากการบันทึกของมนุษย์
เมื่อดูจากผลการวิเคราะห์จะพบว่าสารบางชนิดตัวตรวจวัดของเครื่อง GC ไม่สามารถตรวจวัดได้ แต่จมูกของมนุษย์สัมผัสได้ ในทางกลับกันสารบางชนิดตัวตรวจวัดของเครื่อง GC ตรวจวัดได้แต่จมูกของมนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ จึงทำให้การวิเคราะห์ด้วยระบบ GC-O นั้นสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของกลิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
ในการประยุกต์ใช้เครื่อง GC-O สามารถนำไปใช้ในการอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ในงานการวิเคราะห์วิจัยสมุนไพรต่าง หรืออุตสาหกรรมการผลิตเครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ ได้
หากต้องการข้อมูลของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมคลิก
http://www.scispec.co.th/olfacto.html