Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 954

มารู้จัก GC กันเถอะ

     

   

 

 เทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารโดยมีเฟสเคลื่อนที่เป็นแก๊ส และเฟสอยู่กับที่เป็นคอลัมน์ ดังนั้นตัวอย่างที่จะสามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ได้จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายนั่นเอง

     ผลการวิเคราะห์ที่ได้จะเรียกว่า โครมาโทแกรม (Chromatogram) และเรียกส่วนที่แยกออกมาว่าพีค (Peak) ซึ่งแต่ละพีคจะบ่งบอกถึงจำนวนของสารผสมที่อยู่ในตัวอย่างได้  เราสามารถวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Quanlitative) ได้โดยการเปรียบเทียบเวลาที่สารถูกชะออกจากคอลัมน์ระหว่างสารมาตรฐานและตัวอย่าง  และสามารถวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative) ได้โดยใช้ขนาดสัญญาณที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างไปเทียบกับสัญญาณของสารมาตรฐานเช่นเดียวกัน

     ส่วนประกอบของเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟ ได้แก่

 

       1. แก๊สพา (Carrier gas) ทำหน้าที่ในการพาไอระเหยของสารตัวอย่างเข้าสู่คอลัมน์เพื่อให้เกิดการแยกและออกสู่ตัวตรวจวัดเพื่อบันทึกสัญญาณ ดังนั้นแก๊สพาจึงควรเป็นแก๊สเฉื่อย และควรเปิดไว้ตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งาน

       2. ส่วนฉีดสาร (Injector) ทำหน้าที่ในการระเหยตัวอย่างให้กลายเป็นไอ เราจะฉีดตัวอย่างเข้าเครื่องตรงบริเวณนี้ การตั้งค่าความร้อนควรเหมาะสมกับตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ ไม่มากหรือไม่น้อยเกิดไป

       3. คอลัมน์ (Column) และ ตู้อบคอลัมน์ (Column Oven)  ทำหน้าที่ในการแยกสาร เนื่่องจากตัวอย่างอยู่ในสถานะแก๊สดังนั้นคอลัมน์จึงต้องอยู่ในตู้ที่สามารถควบคุมความร้อนได้ป้องกันการควบแน่นของตัวอย่าง และการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมจะทำให้การแยกเกิดได้ดียิ่งขึ้นด้วย แต่คอลัมน์แต่ละชนิดทนความร้อนได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนใช้งานควรศึกษาคุณสมบัติของคอลัมน์ที่มีอยู่ให้เข้าใจก่อนเริ่มงานป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

       4. ตัวตรวจวัด (Detector) ทำหน้าที่ในการตรวจวัดตัวอย่างที่ถูกแยกเรียบร้อยแล้วให้สามารถแปรผลได้ด้วยระบบไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ตัวตรวจวัดมีหลายชนิด ควรศึกษาคุณสมบัติของตัวตรวจวัดว่าเหมาะสมกับตัวอย่างหรือไม่ก่อนเริ่มทำการวิเคราะห์

       5. ซอฟแวร์และคอมพิวเตอร์สำหรับการประมวลผล  ทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลการวิเคราะห์พร้อมทั้งรายงานผลการวิเคราะห์ได้ตามที่ต้องการ

     ในแต่ละส่วนของเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟต่างมีหน้าที่และความสำคัญต่างกัน ในการใช้งานเครื่องทุกครั้งเราควรเข้าใจหน้าที่ของแต่ละส่วน เพื่อให้การวิเคราะห์เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด  หากเราใช้งานเครื่องด้วยความเข้าใจเราก็จะสามารถแปรผลการวิเคราะห์ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นนะคะ laughing

     สนใจผลิตภัณฑ์หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมคลิก http://www.scispec.co.th/portfolio_GC.html