กัญชาประโยชน์ล้น สรรพคุณเยี่ยม แต่อาจเสี่ยงโทษได้ไม่รู้ตัว
กระแสข่าวที่กำลังมาแรงในตอนนี้ ไม่พูดถึงคงจะไม่ได้ นั่นคือ “กัญชา” โดยเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
กระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อกกัญชาและกัญชงออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 มีผลบังคับทางกฎหมายใช้เฉพาะในประเทศไทย
และได้จัดกัญชาและกัญชงเป็นพืชสมุนไพรควบคุม
ในกัญชามีสารสำคัญ คือ Tetrahydro cannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การใช้ใบกัญชาในการประกอบอาหาร โดยมีข้อกำหนดให้ใช้ 1-2 ใบต่อเมนู เพราะถ้ามีการบริโภคจำนวนมากจะส่งผลทำให้ร่างกายต้องการสารดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การเสพติดสารดังกล่าว นอกจากนี้ 80% ของเส้นใยจากกัญชา เป็นเส้นใยเซลลูโลสที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย สามารถนำมาทำกระดาษสังเคราะห์ได้ดีกว่าไม้ยืนต้นทั่วไป
ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากกัญชาในการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นใช้ในการต้านโรคมะเร็ง ต้านการอาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร แก้ปวด เช่น สาร THC มีฤทธิ์ต้านมะเร็งสมองที่เรียกว่า Glioblastoma, สาร CBD นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในยา Nabilone ช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการสั่นน้อยลง และช่วยให้ขยับตัวได้ดียิ่งขึ้น
แต่! อย่างไรก็ตามยังอาจพบสารปนเปื้อนที่จะทำให้เกิดอันตรายอย่างไม่คาดคิด เนื่องจากกัญชามีความสามารถในการดูดซับโลหะหนัก ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ากัญชาที่นำมาใช้นั้นอาจจะมีการปนเปื้อนเกิดขึ้น โดยเฉพาะโลหะหนักจำพวกตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd), สารหนู (As) และปรอท (Hg) ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้จะอยู่ในส่วนของใบและดอกกัญชาที่เป็นบริเวณที่พบสาร THC และ CBD หากร่างกายมนุษย์ได้รับเข้าไปปริมาณมาก ก็จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจนนำไปสู่การเกิดมะเร็งและปัญหาระบบประสาทในที่สุด
แหล่งที่มา : www.psu.edu
ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจหรือการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในกัญชาที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายโดยมีเกณฑ์มาตรฐานตามตำรับยาสมุนไพร (Thai Herbal Pharmacopoeia ) ฉบับ ค.ศ. 2020 ดังนี้
- สารหนู (Arsenic) < 4 mg/kg
- แคดเมียม (Cadmium) < 0.3 mg/kg
- ตะกั่ว (Lead) < 10 mg/kg
- ปรอท (Mercury) < 0.5 mg/kg
ปัจจุบันเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักได้อย่างรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ หนึ่งในนั้นคือเทคนิค Inductively Coupled Plasma - Mass Spectrometer (ICP-MS) ที่สามารถวิเคราะห์หาโลหะหนักได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยสามารถวิเคราะห์โลหะหนักในระดับการปนเปื้อนตํ่าขนาดนาโนกรัมต่อกิโลกรัมได้ โดยอาศัยการวัดมวลต่อประจุ (m/z) หนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ ICP-MS ในตลาดที่ได้รับการยอมรับระดับโลก และใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ICP-MS รุ่น iCAP RQ ผลิตภัณฑ์ของ Thermo Scientific ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทางบริษัท ซายน์ สเปค จำกัด ได้ทำการจัดจำหน่ายและบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่องมากกว่า 15 ปี
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะจ๊ะ
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.scispec.co.th/app/TH/AN-ICPMS-20002_Raw%20mat.pdf