สารหนู (Arsenic) เป็นธาตุกึ่งโลหะที่พบได้ในรูป ธาตุบริสุทธิ์ (Elemental form) หรือในรูปสารประกอบ (Arsenic compound) ทั้งสารประกอบ อินทรีย์ของสารหนู (Organic arsenic compound) และสารประกอบอนินทรีย์ของสารหนู (Inorganic arsenic compound) สารหนูและสารประกอบของสารหนูส่วนใหญ่นั้นมีพิษร้ายแรง ก่อให้เกิด อาการต่อระบบร่างกายแทบทุกระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบผิวหนัง ระบบหัวใจและหลอดเลือด หากเราได้รับสารหนูในปริมาณสูงแบบเฉียบพลันสามารถทําให้เสียชีวิตได้ เราสามารถพบสารหนูปนเปื้อนอยู่ได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เช่น ปนเปื้อนในดิน แหล่งน้ำ ในน้ำดื่ม น้ำจากบ่อบาดาล น้ำเสียจากเหมืองแร่ดีบุและเหมืองทอง เรายังพบสารหนูได้ในอาหาร เช่นข้าว อาหารทะเล ในยาลูกกลอน บุหรี่ หรือสมุนไพรที่ไม่ได้รับมาตรฐาน นอกจากนี้ การปนเปื้อนในอากาศของสารหนูสามารถเกิดขึ้นได้หากมีการเผาไหม้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหรือถ่านหินจากแหล่งที่มีสารหนูปนเปื้อนอยู่
สารประกอบอนินทรีย์ของสารหนูจะมีความเป็นพิษมากกว่าสารประกอบอินทรีย์ของสารหนู อะตอมของสารหนูที่อยู่ใน สารประกอบต่างๆ นั้น จะพบได้อยู่ 2 Valencies คือแบบ Trivalent หรือ As (III) ซึ่งจะเรียกสารประกอบสารหนูพวกนี้ว่าอาร์เซไนต์ (Arsenite) กับแบบ Pentavalent หรือ As (V) ซึ่งจะเรียกสารประกอบสารหนูพวกนี้ว่าอาร์เซเนต (Arsenate) สารประกอบของสารหนูในรูป As (III) มักจะพิษมากกว่าในรูป As (V)
เนื่องจากสารหนูจัดว่าเป็นสารแปลกปลอมใน ร่างกาย เราจึงสามารถนําการตรวจระดับสารหนูในร่างกายมาใช้เป็นการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการทํางานที่ต้เองสัมผัสสารหนูได้ โดยองค์กร ACGIH แนะนําให้ทําการตรวจระดับสารหนูในปัสสาวะ (Urine) แต่ไม่แนะนําให้ทํา การตรวจระดับสารหนูในเลือด (Blood) เนื่องจากปกติแล้วสารหนูจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและถูกกําจัด ออกไปอย่างรวดเร็ว ทําให้ระดับสารหนูในเลือดมักจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากสารหนูดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นค่าที่ตรวจได้จึงมักมีความแปรปรวนสูง
การตรวจหาระดับสารหนูในปัสสาวะนิยมตรวจด้วยวิธีการตรวจระดับสารหนูอนินทรีย์ และ Methylated metabolites (Inorganic arsenic plus methylated metabolites) ซึ่งเป็นการตรวจที่องค์กร ACGIH แนะนําให้ใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการเฝ้าระวังสุขภาพคนทํางานที่ต้องสัมผัสสารหนู การตรวจนี้จะทำการตรวจแยกดูเฉพาะระดับสารหนูในรูปสารประกอบอนินทรีย์ทั้งหมด กับสารหนูในรูปสารประกอบอินทรีย์อีก 2 ชนิด ได้แก่ Monomethylarsonic acid (MMA) และ Dimethylarsinic acid (DMA) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการเมตาบอไลซ์สารหนูอนินทรีย์ในร่างกายของมนุษย์ การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาการเกิดผลลวงอันเนื่องจาก สารประกอบอินทรีย์ของสารหนูในกลุ่ม Arsenobetaine ที่พบในอาหารทะเลได้ เช่น ในเนื้อปลา (Fish) กุ้ง ปู (Shellfish) หอย (Mollusk) สาหร่ายทะเล (Seaweed) และซูชิ (Sushi) ซึ่งสารหนูในรูปนี้เป็นสารประกอบอินทรีย์ของสารหนูที่ไม่มีข้อมูลว่ามีความเป็นพิษ
ในกระบวนการเมตาบอลิสม์ของสารประกอบอนินทรีย์ของสารหนูในร่างกายมนุษย์นั้น สารประกอบในรูป As (V) จะสามารถเปลี่ยนแปลงแบบกลับไปมาเป็นสารประกอบในรูป As (III) ได้ สารประกอบในรูป As (III) จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยปฏิกิริยา Methylation เป็นสาร MMA และจากนั้นสาร MMA จะเปลี่ยนแปลงเป็นสาร DMA เป็นลําดับสุดท้าย ซึ่งสารเหล่านี้ทุกชนิดจะถูกขับออกจากร่างกายให้ตรวจพบได้ในปัสสาวะ โดย จะขับออกมาในรูปสาร DMA มากที่สุด สําหรับค่ามาตรฐานที่องค์กร ACGIH กําหนดไว้ที่ไม่เกิน 35 μg As/L
สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารหนูออกเป็นแต่ละ Species นั้น ได้แก่ เทคนิค Ion Chromatography, IC ร่วมกับ เทคนิคการวิเคราะห์ธาตุ Inductively coupled plasma mass spectrometry, ICP-MS