ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งต้นเพื่อแบ่งบรรจุขายหรือผสมสารอื่นเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของสารออกฤทธิ์เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย หรือ การตรวจวิเคราะห์เพื่อติดตามคุณภาพในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์หลังบรรจุได้ หรือ การตรวจวิเคราะห์เพื่อติดตามสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในส่วนต่างๆ เช่น ผัก ผลไม้ ดิน น้ำ เป็นต้น ซึ่งเทคนิคหนึ่งที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบได้ก็คือเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (Gas Chromatography, GC) โดยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะทางเคมี โดยกลุ่มที่นิยมวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีได้แก่ ออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid)
การวิเคราะห์ปริมาณของสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีโดยเลือกใช้ตัวตรวจวัดชนิดเฟลมไอออไนเซชัน (Flame Ionization Detector, FID) เนื่องจากเป็นตัวตรวจวัดที่มีช่วงความเข้มข้นในการวิเคราะห์ครอบคลุมถึงระดับเปอร์เซ็นต์ (Percent, %) หรือต้องการวิเคราะห์ปริมาณของสารออกฤทธิ์ตกค้างที่มีความเข้มข้นต่ำสามารถเลือกใช้ตัวตรวจวัดที่มีความจำเพาะเจาะจง (Selective Detector) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ได้เช่น
-ตัวตรวจวัดชนิดอิเล็กตรอนแคปเจอร์ (Electron Capture Detector, ECD) เป็นตัวตรวจวัดที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน สามารถวิเคราะห์ได้ในระดับความเข้มข้นหน่วยส่วนในพันล้านส่วน (part per billion, ppb)
รูปที่ 1 โครมาโทแกรมของสารมาตรฐานผสมของสารกลุ่มออร์กาโนคลอลีน
-ตัวตรวจวัดชนิดเฟลมโฟโตเมตริก (Flame Photometric Detector, FPD) หรือ Nitrogen–Phosphorus detector (NPD) เป็นตัวตรวจวัดที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สามารถวิเคราะห์ได้ในระดับความเข้มข้นหน่วยส่วนในพันล้านส่วน (part per billion, ppb)
-ตัวตรวจวัดชนิดแมสสเปคโตรมิเตอร์ (Mass Spectrometer, MS/MS) เป็นตัวตรวจวัดที่สามารถสร้างความจำเพาะเจาะจงต่อสารส่วนใหญ่ได้จึงทำให้เป็นตัวตรวจวัดที่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากสามารถวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืชได้พร้อมกันในการฉีดเพียง 1 ครั้ง ทำให้ประหยัดเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้อีกด้วย
ข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมคลิก https://www.scispec.co.th/portfolio_GC.html