Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

รู้จักกับ "ยาบ้า" และวิธีตรวจวัด

เกือบไปอีก พ่อเมายา พกปืน 2 กระบอก บุกจะชิงตัวลูกหน้าโรงเรียน

*ขอบคุณภาพจากไทยรัฐออนไลน์

 

โศกนาฏกรรมมากมายในช่วงหลังของประเทศไทย ส่วนหนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนพัวพันกับยาเสพติด ที่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะหาเสพกันได้ง่าย และราคาที่ถูกจนสามารถเข้าถึงได้ทุกเพศวัย วันนี้มารู้จักกับยาเสพติดที่มักพบว่าเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความสูญเสียในสังคม นั่นคือ "ยาบ้า" นั่นเอง

ยาบ้า ในอดีตมีชื่อว่า "ยาม้า" เนื่องจากฤทธิ์ของยาทำให้ผู้เสพ มีกำลังวังชา สามารถทำงานได้อย่างขยันขันแข็ง โดยไม่รู้สึกง่วงหรือเหนื่อย  เป็นยาเสพติดที่มีส่วนประกอบหลักคือสารสังเคราะห์กลุ่มแอมเฟตามีน โดยจะพบการระบาดอยู่สามรูปแบบได้แก่ แอมเฟตามีนซัลเฟต เมทแอมเฟตามีน และเมทแอมฟาตามีนไฮโดรคลอไรด์ นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งในประเทศไทยจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษ ปี 2522

                                                                              Pharmacologic mechanisms of crystal meth | CMAJ

รูปที่ 1 แสดงแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน (รูปซ้าย) และหนึ่งในปฏิกิริยาในการสังเคราะห์แอมเฟตามีนในปัจจุบัน (รูปขวา)

 

ในอดีตการสังเคราะห์ยาบ้าอาจซับซ้อนและยุ่งยาก แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตได้หันมาใช้วิตถุดิบที่สามารถนำเข้าได้ง่าย หนึ่งในนั้นคือโซเดียมไซยาไนด์ ซึ่งมักใช้ในการสกัดทองในเหมืองทองคำ รวมถึงอีกหลายอุตสาหกรรมสำคัญอันได้แก่ การย้อมสี การชุบโลหะ การเพิ่มความแข็งให้กับโลหะ โดยประเทศไทยนำเข้าสารนี้กว่า 1,500 ตัน ต่อปี

ผลการเสพยาบ้า จะทำให้เกิดการกระตุ้นประสาท เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้า ทำให้เกิดการตัดสินใจช้าและผิดพลาด เมื่อใช้ติดต่อกันระยะหนึ่งจะเกิดการดื้อยา ทำให้ต้องการเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดอาการทางประสาท เห็นภาพหลอน คลุ้มคลั่ง เสียสติ จนนำมาซึ่งโศกนาฏกรรมและความสูญเสีย

                                                             

รูปที่ 2 เครื่องตรวจสารเสพติด รุ่น TruNarc (ซ้าย) และเครื่อง Verispray - TSQ (ขวา)

ทางบริษัท ซายน์ สเปค จำกัด ร่วมกับบริษัท Thermo Fisher Scientific ผู้ผลิตเครื่องมือวิเคราะห์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ระดับโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ ตรวจวัดสารเสพติดกว่า 250 ชนิด โดยใช้อุปกรณ์เหล่านี้

1.กรณีเป็นสารต้องสงสัย เครื่องวิเคราะห์สารเสพติดและสารตั้งต้น รุ่น TruNarc® ใช้เทคนิครามานสเปคโตรสโกปีในการตรวจวัด สามารถวิเคราะห์ได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสเนื้อสารโดยตรง

2.กรณีตรวจสารเสพติดในร่างกายผู้ต้องสงสัย ใช้หลักการ Paper-Spray ทำได้ง่ายเพียงของเหลวจากผู้ต้องสงสัยเช่น เลือดหรือยูรีน ลงในตลับจากนั้นนำไปตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องแมสสเปคโตรมิเตอร์ชนิดทริปเปิ้ลควอดรูโพล ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนและยุ่งยาก 

รูปที่ 3 แสดงเส้นกราฟมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ปริมาณด้วยเทคนิค Paper-Spray

นอกจากนี้เทคนิคการวิเคราะห์ยาบ้าแบบ GC-MS/MS ซึ่งเป็นเทคนิคมาตรฐาน ก็ยังคงสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกัน แต่ในเรื่องของความรวดเร็วในการเตรียมตัวอย่างและการครอบคลุมจำนวนสารเสพติดจะไม่ยืดหยุ่นเท่ากับการใช้เทคนิค Paper-spray นั่นเอง

Pongsagon Pothavorn