ปัจจุบันไมโครพลาสติกเป็นปัญหาด้านมลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก เมื่อสิ่งชีวิตในทะเลกินเอาไมโครพลาสติกเข้าไป ทำให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร และสามารถถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภคอาหารในระบบนิเวศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อร่างกายในสัตว์ที่กินเม็ดไมโครพลาสติกเข้าไป เช่น การทำลายเนื้อเยื่อหลอดเลือด และมีผลกระทบต่อระบบหัวใจ อีกทั้ง ยังมีรายงานเกี่ยวกับสารที่เป็นองค์ประกอบและพบการปนเปื้อนอยู่ในไมโครพลาสติกมักเป็นสารพวกโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCBs) ดีดีที (DDT) และไดออกซิน ซึ่งเป็นสารพิษที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย
ไมโครพลาสติก คือชิ้นส่วนของเศษพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร หรือมีขนาดเล็กมาก อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก ทำให้ยากต่อการเก็บและการกำจัด รวมถึงมีคุณสมบัติที่คงสภาพ ย่อยสลายได้ยาก เมื่อมีการระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ไมโครพลาสติกสามารถปนเปื้อน แพร่กระจาย สะสม และตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ง่าย โดยการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมทางทะเลพบได้ทั้งในน้ำ และตะกอนดิน
เทคนิคไพโรไลซิส
นิยมติดตั้งร่วมกับเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟแมสสเปคโตรมิเตอร์ (GC-MS) เพื่อแยกและบ่งบอกชนิดของสาร โดยเป็นการวิเคราะห์ที่ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งตัวอย่างที่เป็นของแข็ง ของกึ่งแข็งกึ่งเหลว หรือของเหลว โดยตัวอย่างจะถูกบรรจุในถ้วยสำหรับบรรจุตัวอย่าง และถูกปล่อยลงสู่เตาเผาขนาดเล็กจากนั้นจะถูกให้ความร้อนอย่างรวดเร็วทำให้ตัวอย่างเกิดการไพโรไลซิส แล้วทำการแยกและวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC-MS ต่อไป เทคนิคนี้มักนิยมนำมาใช้กับโพลีเมอร์ เพื่อตรวจสอบลักษณะทางคุณสมบัติและชนิดของโพลีเมอร์นั้นๆ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : www.scispec.co.th/app/2021TH/AN21_GCPY_Microplastic.pdf