Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 967

การวิเคราะห์ทางเคมีสำหรับ “กัญชา” เพื่อความปลอดภัยในการใช้ทางการแพทย์

การวิเคราะห์ทางเคมีสำหรับ “กัญชา” เพื่อความปลอดภัยในการใช้ทางการแพทย์

 

เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์และงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชา (Cannabis) เป็นจำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาไปใช้รักษาในทางการแพทย์ ถึงแม้การศึกษาทางเคมีของสารออกฤทธิ์ในพืชชนิดนี้ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจะมีความสำคัญอย่างมาก แต่การศึกษาถึงการใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาอย่างปลอดภัย โดยมิให้เจือปนสารพิษจากเชื้อรา ยาฆ่าแมลง หรือโลหะหนักเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้นั้น ก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เช่นกัน ในบทความนี้จึงจะกล่าวถึง การวิเคราะห์กัญชาในภาพรวม ซึ่งจะใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีชนิดต่าง ๆ ที่มีคุณภาพสูงของ Thermo Scientific โดยบริษัท ซายน์ สเปค จำกัด (SciSpec Co., Ltd.)

 

กัญชาเป็นพืชในวงศ์ Cannabidaceae โดยสารเคมีที่สามารถสกัดได้จากกัญชานั้นมีมากกว่า 450 ชนิด โดยมากกว่า 60 ชนิดเป็นสารในกลุ่ม Cannabinoids ซึ่งสารที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีผู้สนใจนำมาใช้ในทางการแพทย์ คือ Delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) กับ Cannabidiol (CBD) แต่ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และข้อมูลทางพิษวิทยาของสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก การวิเคราะห์ระดับปริมาณสารสำคัญที่อยู่ในใบกัญชาจากแหล่งต่าง ๆ หรือผลิตภัณฑ์จากกัญชา เช่น น้ำมันกัญชา อย่างถูกต้องและแม่นยำ จึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์อย่างปลอดภัย

 

สำหรับการวิเคราะห์หาสารสำคัญ (Potency) ของผลิตภัณฑ์จากกัญชาในเชิงปริมาณสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ดังนี้

  • Liquid Chromatography-Mass Spectrometry (LC-MS) เช่น TSQ series
  • Gas Chromatography (GC) เช่น TRACE 1300 series
  • Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) เช่น ISQ 7000 series หรือ TSQ 9000 series

 

ในบางกรณีที่ มีการวิจัยในเชิงลึกเกี่ยวกับสารสำคัญทุกชนิดที่มีอยู่ในสารสกัดกัญชา เช่น งานด้าน Cannabis Metabolomics ที่เน้นการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ ต้องการความละเอียดของข้อมูลอย่างสูง อาจจะใช้เทคนิค High Resolution Accurate Mass Spectrometry (HRAMS) เช่น Q Exactive series หรือ Orbitrap series

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากเทคนิคที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะใช้วิเคราะห์หาปริมาณของสารสำคัญในกัญชาได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการวิเคราะห์ยากำจัดศัตรูพืช (Pesticides/ Herbicides) และสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins) ที่อาจจะเจือปนอยู่ในวัตถุดิบกัญชา หรือตัวทำละลายที่ตกค้าง (Residual Solvents) จากการกระบวนการผลิตน้ำมันกัญชา เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกินปริมาณมาตรฐานที่กำหนดไว้ (Maximum Residue Limits, MRLs) ในระดับที่จะเป็นพิษต่อผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาทางการแพทย์

 

นอกจากนี้ การวิเคราะห์ถึงปริมาณโลหะหนักเจือปนที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เทคนิคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ก็จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการวิเคราะห์ดังกล่าว

  • Atomic Absorption Spectroscopy (AAS) เช่น iCE™ 3000 series
  • Inductively Coupled Plasma-Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) เช่น iCAP™ 7000 series
  • Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometry (ICP-MS) เช่น iCAP™ RQ/TQ series

 

 

ทั้งนี้ ทางบริษัท ซายน์ สเปค จำกัด (SciSpec Co., Ltd.) จะได้จัดทำ Complete Cannabis Testing Solution ซึ่งรวบรวมตั้งแต่ขั้นตอนของการเตรียมตัวอย่าง (Sample Preparation) จนถึงการวิเคราะห์ตัวอย่าง (Sample Analysis) สำหรับเทคนิคต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเป็นคู่มือสำหรับใช้ในงานวิเคราะห์เกี่ยวกับกัญชาเพื่อการแพทย์ รวมถึงนำเสนอบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานวิเคราะห์สารสำคัญในกัญชาเป็นลำดับต่อไป