ไขมัน ... ขาดไม่ได้ มากเกินไปก็ไม่ดี
อาหารคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยอาหารที่มีคุณภาพคืออาหารที่มีสารอาหารสำคัญครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน โดยไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำหนักที่เท่ากัน
ไขมันหรือน้ำมันเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ มีสูตรโครงสร้างเป็นไตรเอซิลกลีเซอรอลหรือที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ โดยไตรกลีเซอไรด์ 1 โมเลกุลประกอบด้วย 3 โมเลกุลของกรดไขมัน ผนวกเข้ากับ 1 โมเลกุลของกลีเซอรอลอยู่ในสภาพของเอสเทอร์
กรดไขมันแบ่งเป็น 3 ประเภทตามจำนวนอะตอมคาร์บอนได้ดังนี้
- กรดไขมันสายยาว ส่วนมากจะพบในน้ำมันชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันปาล์ม กรดไขมันประเภทนี้จะถูกนำไปสะสมอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณท้องและไตของมนุษย์ เพื่อนำไปใช้ยามจำเป็น ซึ่งถ้าหากมีกรดชนิดนี้มากเกินไปจะทำให้ตะกอนตกค้างในหลอดเลือดจนเป็นเหตุให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้
- กรดไขมันสายกลาง พบมากในน้ำมันมะพร้าว และน้ำนมของแม่ หากได้รับการบริโภคไขมันชนิดนี้ ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ตับเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
- กรดไขมันสายสั้น มักจจะอยู่ในสิ่งที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารของมนุษย์ ส่วนมากมักจะทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับแบคทีเรียชนิดดี ทำให้ทำให้ลำไส้เกิดความสมดุล
การบริโภอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ควรบริโภคมากกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งหมด เพราะอาจจะเป็นเหตุให้ความสามารถการขจัดคอเลสเทอรอลของร่างกายลดลงจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้
ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป และเป็นไขมันที่ไม่มีต่อสุขภาพ เพราะเมื่อบริโภคเข้าไปในจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดคราบไขมันติดภายในลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และหลอดเลือด จนทำให้น้ำไม่สามารถซึมผ่านคราบไขมันทรานส์นี้ได้ ดังนั้น สารอาหารสำคัญที่ต้องมีการละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน วิตามินบีและวิตามินซีก็จะไม่ถูกดูดซึม องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้อาหารทุกประเภทและทุกชนิดต้องระบุปริมาณของ ไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) ไว้บนฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างฉลากที่ระบุปริมาณไขมันทรานส์
สำหรับวิธีที่จะวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของกรดไขมัน สามารถทำได้โดยการใช้เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี โดยจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างให้อยู่ในรูปที่สามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ได้ สำหรับหรับขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างมีหลากหลายวิธี วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้คือการทำปฏิกิริยา Methylation ด้วย BF3 ดังรายละเอียดด้านล่าง
รูปแสดงขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง
จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนในการเตรียมหลายขั้นตอนและต้องใช้เวลานานในการเตรียมตัวอย่าง จึงได้มีการออกแบบเครื่องมือสำหรับการเตรียมตัวอย่างแบบอัตโนมัติ ซึ่งทำได้สะดวก และรวดเร็ว ทั้งยังสามารถฉีดตัวอย่างที่เตรียมเรียบร้อยแล้วสู่เครื่อง GC ได้ทันทีอีกด้วย
รูปเครื่องเตรียมตัวอย่างแบบอัตโนมัติ
สภาวะของเครื่อง GC ที่ใช้ในการวิเคราะห์
Injector : Split 20:1
Column : TR-FAME 30m
Oven : 70oC hold 0.5min, 25 oC/min to 180 oC, ramp 4 oC/min to 205 oC and ramp 30 oC/min to 340 oC
Detector : FID or MS
รูปแสดงโครมาโทแกรมของการวิเคราะห์สารมารตรฐานกรดไขมัน
ตอนหน้ามาพบกับ ไขมันชนิดโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 ต่อสุขภาพของเรากันครับ สำหรับวันนี้แอดมินขอลาไปก่อน ขอให้ทำงานอย่างมีความสุขครับ บ๊ายบาย