Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 954

งานที่รัก...มีภัยแฝงตัวอยู่หรือไม่ มาตรวจสอบกันเถอะ

         

 การตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biological marker หรือ Biomarker)

 

          การตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biological marker หรือ Biomarker)  เป็นการตรวจประเมิณสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่มีการสัมผัสกับสารเคมีที่อาจก่ออันตรายต่อสุขภาพของคนทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ลดการสัมผัสหรือหลีกเลื่ยงตลอจนป้องกันโรคที่เกิดจากความเป็นพิษของสารเคมีต่อไป

          สำหรับการเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจประเมิณทางชีวภาพก็สามารถเก็บจากตัวอย่างชีวภาพของผู้ปฏิบัติงาน เช่น เลือด ปัสสาวะ แล้วนำไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ การเก็บตัวอย่างชีวภาพนี้เป็นการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจประเมิณสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานว่าได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์มากน้อย  เพื่อวางแผนให้การผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับสารเคมีสะสมมากจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพ 

          การเก็บตัวอย่างอีกแบบ  คือการเก็บตัวอย่างจากสถานที่ปฏิบัติงาน (Workplace)  เป็นการเก็บตัวอย่างของสารเคมีที่มีปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมของสถานที่ปฏิบัติงาน  เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีระดับความเข้มข้นของสารเคมีมากจนเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

          ตัวอย่างสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน เช่น เบนซีน (Benzene)  ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)  เป็นสารก่อมะเร็ง  หรือ ไซโครเฮกซะนอล (Cyclohexanol)  นอมอลเฮกเซน (n-Hexane)  ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้ดี  เป็นต้น  ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)  ที่มีเกณฑ์ความเข้มข้นในการตรวจพบในสถานที่ปฏิบัติงานได้โดยมีขอบเขตต่างกันตามชนิดของสารเคมี 

          โดยการเก็บตัวอย่างจะต้องเก็บตัวอย่างเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ 8 ชั่วโมงเสมือนกับผู้ปฏิบัติงานจริง  วิธีการเก็บตัวอย่างจะสามารถทำได้โดยการให้ตัวอย่างอากาศที่ปนเปื้อนสารเคมีผ่านตัวดูดซับ (Sorbent) ที่จำเพาะเจาะจงต่อสารเคมีนั้นๆ  โดยจะต้องมีการกำหนดเวลาและความเร็วในการไหลของอากาศ  เพื่อให้สามารถคำนวณปริมาณของสารเคมีที่ตรวจพบได้  สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างแสดงดังรูป 

รูปตัวอย่างตัวดูดซับที่ต่อกับปั๊มที่สามารถควบคุมอัตราการไหลได้

 

รูปแสดงการเก็บตัวอย่าง

 

          หลังจากที่เก็บตัวอย่างจากสถานที่ปฏิบัติงานเรียบร้อยแล้ว   ตัวอย่างที่ถูกเก็บไว้ในตัวดูดซับ จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Thermal Desorption – Gas Chromatograph (TD-GCMS)  เพื่อวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของสารเคมีที่พบ 

 

 

 

ตัวอย่างโครมาโทแกรมและรายชื่อสารเคมีของการวิเคราะห์

 

          การปฏิบัติงานที่มีการสำผัสกับสารเคมีไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม  ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้เสมอ  ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรจะระมัดระวังในการปฏิบัติงาน  ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง  การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ  แม้ว่าอาจจะทำให้การปฏิบัติงานไม่สะดวก  แต่ผู้ปฏิบัติงานก็ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ปฏิบัติงานเองนะคะ

 

ข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม

http://www.scispec.co.th/TD.html