เก็บยาอย่างไรให้ยังคงเป็นยา..แม้ว่าจะเป็นภาษาที่ดูกำกวมแต่แฝงไปด้วยนัยยะ
ยา หรือ เภสัชภัณฑ์ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งแบบกิน ทา ฉีด หรืออม เพื่อให้สารออกฤทธิ์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตตลอดจนการเก็บรักษาจำเป็นต้องคงสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์ไว้เสมอ เพราะอาจเสื่อมสภาพได้หากได้รับปัจจัยต่างๆ โดยการเสื่อมสภาพแบ่งเป็น
- การเสื่อมสภาพทางเคมี ทำให้ปริมาณตัวยาสำคัญลดลง และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
- การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ทำให้เกิดความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน
- การเสื่อมสภาพทางชีวภาพ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อเกินระดับปลอดภัย
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์ส่วนมากจะมาจากสิ่งแวดล้อมเช่น อุณหภูมิ แสง แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ ความชื้น เป็นต้น ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพของยาได้โดยการเก็บรักษาอย่างถูกวิธีตามฉลากที่ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ของยานั้นๆ
การสังเกตุว่ายาเสื่อมสภาพหรือไม่สามารถสังเกตุได้ง่ายๆ ดังนี้
- สังเกตุจากวันหมดอายุที่ระบุอยู่บนบรรจุภัณฑ์
- สังเกตุจากสีของยา ลักษณะของเม็ดยามีสีไม่สม่ำเสมอ เม็ดยาแตกหรือบวม เป็นต้น
- สังเกตุจากกลิ่นที่แปลกไปจากเดิม หรือ มีกลิ่นเหม็นผิดปรกติ
- สังเกตุจากการจับตัวกันเป็นก้อนของยา
การเก็บรักษายาโดยทั่วไป คือ
- เก็บในภาชนะที่แห้งปิดสนิท ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก
- เก็บในที่มืด ควรเก็บยาในตู้ทึบ หรือเก็บในภาชนะทึบแสง
- เก็บในที่เย็น หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน
แต่ก่อนที่ยา หรือ เภสัชภัณฑ์ จะถึงมือผู้บริโภคนั้น ผู้ผลิตก็ต้องมีกระบวนการในการคงสภาพของยาหรือเภสัชภัณฑ์เช่นเดียวกัน หนึ่งในขั้นตอนสำหรับการคงสภาพยาหรือเภสัชภัณฑ์คือการใช้แก๊สไนโตรเจนในการเก็บรักษาสำหรับยาที่ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนได้ง่าย เช่น catecholamines (dopamine), morphine, vitamin A, unsaturated free fatty acid, pyrantel, pyrimidine เป็นต้น ในกระบวนการผลิตเมื่อยานั้นๆ ผลิตเรียบร้อยแล้วจะต้องถูกเก็บภายใต้แก๊สไนโตรเจนที่ปราศจากแก๊สออกซิเจน เพื่อให้ยาไม่เสื่อมสภาพ และจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย
สำหรับแก๊สไนโตรเจนที่ใช้ในการเก็บรักษายาจำเป็นจะต้องมีความบริสุทธิ์สูง มีปริมาณแก๊สออกซิเจนปนเปื้อนน้อยที่สุด ตาม European Pharmacopoeia การวิเคราะห์ Nitrogen, Low-oxygen สามารถวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ของแก๊สในโตรเจนได้โดยใช้เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟฟี ที่เกณฑ์กำหนดของแก๊สปนเปื้อนอื่นๆ ไม่เกิน 0.5 % V/V โดยใช้สภาวะของเครื่องมือในการวิเคราะห์ดังนี้
Injector : Gas sampling valve
Column : Molecular sieve (0.5nm)
Detector : TCD
Carrier gas : Helium
ตัวอย่างโครมาโทแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยคอลัมน์ Molecular sieve (0.5nm)
เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟเป็นเครื่องที่ใช้เทคนิคการแยกสารผสมออกจากกันและทำการตรวจวัด ทำให้สามารถวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของสารได้ โดยในการวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ของแก๊สไนโตรเจนนั้นตัวอย่างอยู่ในสถานะแก๊ส ดังนั้นการนำตัวอย่างเข้าเครื่องจำเป็นต้องใช้ส่วนฉีดสารชนิด Gas Sampling Valve เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการวิเคราะห์และลดความผิดพลาดในการสุญเสียตัวอย่างระหว่างฉีดได้ และยังมีระบบฉีดตัวอย่างได้อย่างอัตโนมัติทำให้การวิเคราะห์สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น หากต้องการข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
คลิก http://www.scispec.co.th/GC.html