Web Analytics
No module Published on Offcanvas position

การวิเคราะห์ตัวทำละลายตกค้างในบรรจุภัณฑ์อาหาร

บรรจุภัณฑ์อาจมีอะไรมากกว่าที่คิด!!!!

               รู้หรือไม่นบบรรจุภัณฑ์อาหารมีอะไร บรรจุภัณฑ์อาหารเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอัตราการเติมโตควบคู่ไปกับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารมีบทบาทสำคัญในการยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร ทั้งในด้านกลิ่น สี รสชาติ และความอร่อยให้คงอยู่จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ทั้งยังช่วยให้การขนส่งผลิตภัณฑ์มีความสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสรมการตลาด ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถอาจมีใช้หมึกพิมพ์บ้างตกแต่งด้วยสีเพื่อดึงดูดความสนใจดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ ด้วยตัวเองซึ่งส่วนประกอบหรือสื่อบรรจุภัณฑ์เหล่านี้อาจมีอาจมีส่วนประกอบทางเคมีของบรรจุภัณฑ์(โดยเฉพาะจากโพลีเมอร์ สีย้อม และหมึกพิมพ์) สามารถเข้าสู่ผลิตภัณฑ์อาหารได้ ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อสุขภาพ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดมาตรการกำกับดูแลเพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุที่บรรจุอาหาร ไม่ถ่ายเทส่วนประกอบใด ๆ ไปยังอาหารในปริมาณที่อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ในสหรัฐอเมริกามีขีดจำกัดการถ่ายโอนของตัวทำละลายที่ไม่สามารถระเหยได้และวัตถุเจือปนสู่อาหารอยู่ที่ไม่เกิน 50 mg/mL และนอกจากนี้การหาปริมาณตัวทำละลายตกค้างในบรรจุภัณฑ์อาหารยังถูกกำหนดและควบคุมตามมาตรฐาน EN 13628-1:2002

         ในการตรวจหาตัวทำละลายตกค้างในครั้งนี้ได้ใช้เทคนิคเฮดสเปซในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ง่ายและรวดเร็วในการสกัดสารระเหยและสารกึ่งระเหยจากตัวอย่างโดยไม่ต้องใช้เวลานานในการเตรียมตัวอย่าง.สามารถใช้สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณของสารระเหยในเมทริกซ์ที่เป็นของแข็ง.โดยขั้นตอนการทำงานนำตัวอย่างใส่ลงในขวดเฮดสเปซ ปิดฝาให้สนิทแล้วให้ความร้อนกับตัวอย่างเพื่อให้สารที่สนใจระเหยออกจากตัวอย่างและนำไอระเหยนั้นไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟฟี ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้ใช้เครื่องเตรียมตัวอย่างอัตโนมัติ Triplus 500 Headspace.(HS) ร่วมกับเครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟีใช้สองตัวตรวจวัดในการวิเคราะห์ได้แก่เฟลมไอออนไนเซชัน (Flame ionization detector, FID) ใช้ในการตรวจจับและ แมสสเปคโตรมิเตอร์ (Mass Spectrometer, MS) ใช้ในการยืนยันตัวตนของสิ่งเจอปน  การทดลองยังมุ่งเน้นไปที่การประเมินตามมาตรฐาน..EN.13628:1:2002.และความแม่นยำตลอดจนประสิทธิภาพเชิงปริมาณโดยรวมของการตั้งค่าการวิเคราะห์สำหรับการวิเคราะห์ตามปกติของตัวทำละลายตกค้างในบรรจุภัณฑ์อาหาร

ขั้นตอนการสกัดด้วยเทคนิคเฮดสเปซ

ผลการวิเคราะห์

                    โครมาโทแกรมของสารมาตรฐานตรวจวัดโดยใช้เฟลมไอออนไนเซชัน

                    โครมาโทแกรมของสารมาตรฐานตรวจวัดโดยใช้แมสสเปคโตรมิเตอร์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์

เครื่องแก๊สโครมาโตกราฟ-แมสสเปคโตรมิเตอร์และวาล์วสำหรับฉีดตัวอย่าง

Thermo Scientific™ ISQ™ 7000 Single Quadrupole GC-MS and  TriPlus™ 500 GC Headspace Autosampler

 

Wannika Pannont