ทุเรียนไทยถูกระงับส่งออกไปจีน! สารใดคือผู้ร้าย
เมื่อเร็ว ๆ นี้ การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนต้องหยุดชะงัก เนื่องจากตรวจพบสารต้องห้ามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หนึ่งในสารที่เป็นปัญหาคือ Basic Yellow 2 (BY2) ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจว่ามันคืออะไร มีคุณสมบัติเป็นเช่นไร และทำไมมันถึงเป็นสารต้องห้าม วันนี้เราจะมาคำตอบกัน
- BY2 คืออะไร
สาร Basic Yellow 2 หรือ Auramine O | สูตรเคมี คือ C₁₇H₂₂ClN₃ |
- BY2 คือชื่อเรียกนึงของสาร Basic Yellow 2 หรือ Auramine O สูตรเคมี คือ C₁₇H₂₂ClN₃ เป็นผงผลึกสีเหลืองสด สามารถละลายในน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ให้สีเหลืองเรืองแสงเมื่ออยู่ในสารละลาย ในสมัยก่อนบางประเทศเคยมีการใช้ BY2 ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างผิดกฎหมาย เช่น ใช้ในการเคลือบเปลือกทุเรียนเพื่อให้มีสีเหลืองสดใส แต่ภายหลังพบว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมาก
- พบสารนี้ได้ที่ไหนบ้าง
- สารนี้มีการใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมฟอกสี ไม่ว่าจะเป็นการใช้เป็นสีย้อมในกระดาษและเส้นใยสังเคราะห์ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ หรือในวงการจุลชีววิทยา จะใช้สารตัวนี้เป็นสารเรืองแสงในการตรวจสอบแบคทีเรียและเนื้อเยื่อแต่ทว่าสารนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
- สหรัฐอเมริกา: มีการใช้สาร BY2 ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อย้อมเส้นใยสังเคราะห์ เช่น อะคริลิก ไนลอน และพอลิเอสเทอร์ รวมถึงเส้นใยธรรมชาติอย่างใยไหมและขนสัตว์
- เยอรมนี: ใช้สาร BY2 ใน เพื่อให้สีเหลืองสดใส
- อินเดีย: มีการใช้สาร BY2 ในห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาและการแพทย์ เพื่อย้อมสีแบคทีเรีย เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ เนื่องจากคุณสมบัติการเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ของสาร
- เวียดนาม: มีการใช้สาร BY2 ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและการผลิตเสื้อผ้าเพื่อย้อมเส้นใยและผ้า
- ผลกระทบของ BY2
- ต่อสุขภาพ
- เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้สาร Basic Yellow 2 (BY2) หรือ Auramine O เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B หมายความว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์โดยที่หลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าก่อมะเร็งในมนุษย์แต่แสดงหลักฐานที่เพียงพอในสัตว์ทดลอง
- การได้รับสัมผัสสารอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ผื่นแดง หรืออาการแพ้ในบางคน เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หากได้รับสัมผัสปริมาณมากจะเกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือหายใจลำบาก งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า การบริโภคในปริมาณมากและต่อเนื่อง อาจเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพ เช่น ความเป็นพิษต่อตับและไต ส่งผลให้สินค้าส่งออกททางการเกษตรได้มีการกำหนดค่าความปลอดภัยของสาร โดยกรมวิชาการเกษตรของไทยได้กำหนดให้ปริมาณต่ำสุดที่ตรวจพบสารนี้อยู่ที่ 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณต่ำที่สุดที่สามารถรายงานค่าเป็นตัวเลขได้อยู่ที่ ที่ 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- ต่อสิ่งแวดล้อม
- BY2 เป็นสารที่มีความคงทนสูง และอาจไม่สามารถย่อยสลายได้ง่ายในสิ่งแวดล้อม
- อาจเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ เช่น ปลาและแพลงก์ตอน โดยอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และเพิ่มอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
- หาก BY2 ถูกกำจัดโดยการฝังกลบ อาจเกิดการปนเปื้อนในดิน ทำให้ดินเสื่อมสภาพ และส่งผลต่อพืชที่ปลูกในบริเวณนั้น
- สีย้อมสามารถซึมผ่านชั้นดินลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนในน้ำดื่ม
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการปนเปื้อนของสาร BY2 ในอาหารถือเป็นสิ่งต้องห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในสินค้าทางการเกษตรเพื่อส่งออกหากไม่สามารถควบคุมสารนี้ได้ ไทยอาจสูญเสียตลาดส่งออกมูลค่าหลายพันล้านบาท ดังนั้นเกษตรกรและผู้ผลิตจึงต้องเคร่งครัดในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกระงับการส่งออก นั่นจึงเป็นเหตุผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการใช้สารนี้ในกระบวนการผลิตอาหาร ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์สาร BY2 สามารถดำเนินการได้โดยใช้เทคนิค Liquid Chromatography-Tandem Mass Spectrometry (LC-MS/MS) ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำและไวสูง รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ AN25-LCMS-BY2.pdf (scispec.co.th)